การพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWLH – PLUS

Main Article Content

กิตติกาญจน์ อินทเกตุ
อธิกมาส มากจุ้ย

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWLH – Plus  2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWLH – Plus  กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 สุพรรณบุรี ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน  38 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้วิธีจับสลาก  ระยะเวลาในการทดลอง 12 คาบ  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยเทคนิค KWLH – Plus   แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWLH – Plus การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ()  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)  และการทดสอบค่าที ( t-test) แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (dependent)

               ผลการวิจัยพบว่า

               1) ทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWLH- Plus หลังการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

               2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWLH-Plus โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก

คำสำคัญ: ทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ / การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWLH – Plus    

 

Abstract 

               The objectives of this research were 1) to compare critical reading skill of Mathayomsueksa 1 students before and after implementation of the KWLH - Plus technique, and 2) to study the opinions of Mathayomsuksa 1 students towards the KWLH – Plustechnique. The sample consisted of 38 students from Mathayomsueksa 1/2, Rattanakosinsomphot Bowonniwetsalaya Under the Supreme Patriarch School Phutthamonthon District Nakhon Pathom Province The Secondary Educational Service Area 9 Suphan Buri, second semester, academic year 2014, and using simple random sampling technique with a classroom unit. This research was pre - experimental with one group pre-test post-test design.

               The research instruments used were: 1) critical reading skill lesson plans of KWLH - Plus technique  2) critical reading skill test, and 3) a questionnaire used to survey the students’ opinions on the KWLH-Plus technique. The mean, standard deviation (S.D.), dependent t-test were analysed in the research

               The research findings were as follows:

               1.  The critical reading skill using the KWLH - Plus technique of Mathayomsuksa         1 students in the post-test was higher than in the pre-test with the level of statistical significance at .05

               2.  The students’ opinions toward the KWLH - Plus were at the high level of agreement.

Keywords: The  critical  reading  skill / The KWLH – Plus technique 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ