อัตลักษณ์ชุมชนเมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

อินทิรา พงษ์นาค
ศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของชุมชนเมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และ เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยใช้อัตลักษณ์เมืองโบราณอู่ทอง ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูลมีวิธีการสำคัญ คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง  การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และ การประชุมสนทนากลุ่ม  

            ผลการวิจัยพบว่า คนในพื้นที่เห็นว่าอัตลักษณ์ที่มีลักษณะจับต้องได้ของชุมชนเมืองโบราณ อู่ทอง  ได้แก่ 1) มีผังเมืองโบราณเป็นรูปวงรี มีคูน้ำคันดินล้อมรอบสภาพภูมิศาสตร์ด้านหนึ่งเป็นภูเขาอีกด้านหนึ่งเป็นน้ำ 2) มีหลักฐานที่แสดงถึงการเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาแรกเริ่ม 3) มีโบราณสถาน เช่น เจดีย์ วัด 4) มีโบราณวัตถุ เช่น พระพุทธรูปสมัยทวารวดี ธรรมจักร ลูกปัด 5) มีมรดกทางธรรมชาติ คือสวนหินธรรมชาติพุนางนาค ส่วนอัตลักษณ์ที่มีลักษณะจับต้องไม่ได้ ได้แก่ 1) มีประเพณีตักบาตรเทโว-โรหณะ ณ วัดเขาทำเทียม 2) มีประเพณีลอยกระทงสวรรค์ 12 นักษัตร ณ วัดเขาพระศรีสรรเพชญาราม 3) มีเทศกาลกินเจ และงานงิ้วของชาวไทยเชื้อสายจีน 4) มีพิธีกรรมไหว้ผีเจ้านาย ผีเทวดาและงานประเพณีแห่ธงสงกรานต์ของลาวครั่ง 5) มีประเพณีวัฒนธรรมชาติพันธุ์ 5 ชนเผ่าอู่ทอง ได้แก่ ไทยพื้นถิ่น ไทยจีน ไทยเวียง ไทยทรงดำ และลาวครั่ง  

            ­­ส่วนแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยใช้อัตลักษณ์เมืองโบราณอู่ทอง มีดังนี้1) กลยุทธ์การพัฒนาพื้นที่ชุมชนเมืองโบราณอู่ทอง ด้วยการอนุรักษ์ฟื้นฟูตัวโบราณสถาน และสภาพแวดล้อมรอบๆ พื้นที่   การจัดการภูมิทัศน์ในพื้นที่โบราณสถานและชุมชนโบราณ พัฒนาลำน้ำ เพื่อรองรับการล่องเรือชมเมือง เป็นต้น   2) กลยุทธ์การส่งเสริมและพัฒนาเรื่องราวที่บ่งบอกอัตลักษณ์เมืองโบราณอู่ทอง ด้วยการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลสำหรับนักท่องเที่ยว จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์ต่างๆ จัดตั้งหมู่บ้านวัฒนธรรม และแหล่งเรียนรู้/พิพิธภัณฑ์ลูกปัด เป็นต้น  และ 3) กลยุทธ์สื่อสารเพื่อการตลาด ด้วยการสร้างตราสินค้าการท่องเที่ยวชุมชนเมืองโบราณอู่ทองให้เป็นที่รู้จัก  และใช้การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ผสมผสานสื่อต่าง ๆ เป็นต้น

 

คำสำคัญ : อัตลักษณ์, อัตลักษณ์ชุมชน, เมืองโบราณอู่ทอง, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

 

Abstract

               The Objective of this thesis was to study community identity of the ancient town of U-Thong, Suphanburi province  and to study ways of promoting cultural tourism in accordance with  community identity of the ancient town of  U-Thong. This study used qualitative research method. The employed data collecting methods were in-depth interview ,structured interviews ,participant interview , non-participant interview , focus group discussion.  

               The study reveals that community identity of the ancient town of  U-Thong from the perspective of people in the area  that  to be  tangible identity  of the ancient town U-Thong , Suphanburi province  as follows 1) town Planning  is oval , surrounded by moat , on one side is the mountain and the other side is water 2) has evidence which indicates the center of Buddhism first started. 3) there are historic sites such as the pagoda, temple 4) there are antiques such as Dvaravati period Thammachak Buddha, beads. 5) there is natural heritage   such as Phu Nang Nak. The cultural identity is not tangible as follows: 1) Tak Bat Devo tradition at Wat Khao Thamthiem 2) 12 zodiac Loy Krathong tradition at wat Pra Sri Sanphet Yaram           3) vegetarian festival and Chinese drama of Thai- Chinese people 4) the rite to  pay respect to the ghost master and ghost angel and the festival of songkran flag parade of Lao Krang           5) ethnics cultural traditions in five tribes such as  native Thai , Chinese – Thai Vieng Thai , black Tai and Lao Krang

               Promotion Guidelines of cultural tourism in accordance with identity of the ancient town of U-Thong according to strategic management approach and communicate marketing . in the following: 1) Development strategies of urban areas by conservation and restoration historic sites and surrounding areas , management  landscapes and ancient archaeological sites in the area to support the development of river cruise, sightseeing and so on. 2) Strategies to promote  and develop stories that indicate identity of the ancient town of U-Thong with  establishment information center for tourists, establish of various ethnic museum, establish cultural village and learning centers / bead museum 3) Marketing Strategies from tourism brand to be known and integrated marketing communications that combine various media, many media and so on.

 

Keyword (s): Identity, Community identity, the ancient town of U-Thong, Cultural tourism

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ