การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยกลวิธีโครงสร้างเรื่องเล่า ผ่านนิทานภาพเคลื่อนไหว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดสร้อยทอง สำนักงานเขตบางซื่อกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

บุญญริน บุญาบริรักษ์
วิสาข์ จัติวัตร์

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ โดยกลวิธีโครงสร้างเรื่องเล่า (Story Grammar) ผ่านนิทานภาพเคลื่อนไหว (Animated Story) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านอย่างเข้าใจโดยใช้กลวิธีโครงสร้างเรื่องเล่าผ่านนิทานภาพเคลื่อนไหวของนักเรียนก่อนและหลังการเรียนโดยใช้แบบฝึกและรูปแบบกิจกรรม  3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะและรูปแบบกิจกรรมที่ผู้วิจัยออกแบบไว้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดสร้อยทอง กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 1 ห้องเรียน 30 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ระยะเวลาในการทดลองอยู่ในระหว่างภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ใช้เวลาในการเรียน 8 สัปดาห์ๆ ละ 2 ชั่วโมง รวม 16 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้กลวิธีโครงสร้างเรื่องเล่าผ่านนิทานภาพเคลื่อนไหว พร้อมแผนการสอน จำนวน 8 บท แบบทดสอบวัดความสามารถทางการอ่านก่อนและหลังการทดลอง ตารางบันทึกการใช้กลวิธีระหว่างการอ่าน และแบบสอบถามความคิดเห็น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ t-test เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนก่อนและหลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ และใช้ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการหาค่าระดับมาตรฐานในการหาค่าระดับความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ

               ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษโดยใช้กลวิธีโครงสร้างเรื่องเล่าผ่านนิทานภาพเคลื่อนไหว มีประสิทธิภาพเท่ากับ 78.50/83.56 2) ความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจในวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนหลังการเรียนสูงกว่าก่อนการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้กลวิธีโครงสร้างเรื่องเล่าผ่านนิทานภาพเคลื่อนไหว โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี โดยมีค่าระดับเฉลี่ย อยู่ระหว่าง 4.46- 4.79 และมีค่าระดับความคิดเห็นเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.52 

Abstract

               The purposes of the study were 1) to develop and test the efficiency of English reading exercises using story grammar for Prathom 6 students; 2) to compare the students’ English reading ability before and after learning processes and studying the exercises; 3) to survey the students ‘opinions toward the exercises. The research sample, selected by a purposive sampling technique, comprises 30 Prathom 6 students in Wat Soithong school, during the second academic years 2014. The duration of the experimental research covered 18 class sessions over a nine-week period. The research instruments consisted of 1) eight units of English reading exercises and lesson plans; 2) an English proficiency test of reading ; 3) a questionnaire was used for surveying the subjects’ opinions toward the exercises. The paired-samples t-test was used to analyze the gathered data in order to assess the students’ ability in English reading comprehension before and after learning processes and studying the exercises.

            The results of the study revealed as: 1) The efficiency of reading exercises was 78.50/83.56 percent for the reading practice tests and the posttest, respectively. This means that the constructed reading exercises exceeded the expected criterion (75/75). 2) The students’ reading ability after studying the English reading exercises was significantly higher than before studying the English reading exercises at the 0.05 level. 3) The students’ opinions on the seven units toward the English reading exercises were highly positive.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ