การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้การอ่านกลวิธีแบบร่วมมือ และเทคนิคแผนผังกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสระยายโสมวิทยา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

สุพัตรา มูลละออง

Abstract

บทคัดย่อ

          การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้การอ่านกลวิธีแบบร่วมมือและเทคนิคแผนผังกราฟิก 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้การอ่านกลวิธีแบบร่วมมือและเทคนิคแผนผังกราฟิก และ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้การอ่านกลวิธีแบบร่วมมือและเทคนิคแผนผังกราฟิก         กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสระยายโสมวิทยา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีnจำนวน 30 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างง่าย  โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม ทำการทดลองโดยให้นักเรียนทำแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 8 บท ๆ ละ  2 คาบเรียน  โดยใช้เวลา 6 สัปดาห์ ๆ ละ 3 คาบเรียนๆ ละ 50 นาที รวมทั้งสิ้น 18 คาบเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้การอ่านกลวิธีแบบร่วมมือและเทคนิคแผนผังกราฟิก 2) แบบทดสอบวัดความสามารถทางการอ่านเพื่อความเข้าใจภาษาอังกฤษก่อนและหลังการทดลอง 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติที เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน และใช้ค่าเฉลี่ยตลอดจนส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการหาค่าระดับความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักเสริมทักษะการอ่านมีค่าเท่ากับ 81.63/85.08 สูงกว่าที่กำหนดไว้คือ 75/75 2) ความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนสูงขึ้นหลังเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 3) นักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับดีมากต่อแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้การอ่านกลวิธีแบบร่วมมือและเทคนิคแผนผังกราฟิกทั้ง 8 บท ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

Abstract

          The purposes of this research were 1) to develop and test the efficiency of Reading Comprehension exercises by using collaborative strategic reading (CSR) and graphic organizer techniques for Mathayomsuksa - three students; 2) to compare students’ English reading ability before and after using the supplementary reading exercises; 3) to study students’ opinions toward the exercises. The sample consist of one randomly selected class of 30Mathayomsuksa - three students, during the second semester of the academic year 2014. The students studied the eight reading exercises. The duration of the experiment was eighteen class session, over a six – week period. The instruments used for gathering data were 1) the eight reading comprehension exercises by using collaborative strategic reading (CSR) and graphic organizer techniques and lesson plans 2) a reading proficiency test, used as a pretest and posttest and a questionnaire on opinions toward the reading comprehension exercises. The data were analyzed by the mean, standard deviation and statistical means of t-test. The results of the study were as follows: 1) The efficiency of supplementary reading comprehension exercises using collaborative strategic reading (CSR) and graphic organizer techniques was 81.63/85.08 percent. This means that the efficiency was at the high level. 2) The students’ English reading ability after using the supplementary reading comprehension exercises by collaborative strategic reading (CSR) and graphic organizer techniques was significantly higher than the ability before using the supplementary reading comprehension exercises by using collaborative strategic reading (CSR) and graphic organizer techniques at the 0.05 level. 3) The students’ opinions toward the supplementary reading comprehension exercises by using collaborative strategic reading (CSR) and graphic organizer techniques were highly positive.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ