รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานที่มีต่อเจตคติในวิชาวิชาฟิสิกส์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี

Main Article Content

มนต์สิทธิ์ ธนสิทธิโกศล
มิ่งขวัญ ภาคสัญไชย

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบ Pre-Experimental Design วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบเจตคติต่อวิชาฟิสิกส์ก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน โดยกลุ่ม   ตัวอย่างของการวิจัยคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระ        จอมเกล้าธนบุรี จำนวนทั้งสิ้น 222 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน              แบบประเมินเจตคติต่อวิชาฟิสิกส์ และแบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้สึกของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนการสอน            สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

            ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานส่งผลให้เจตคติของนักศึกษาในภาพรวม และในองค์ประกอบ Real world connection และองค์ประกอบ Sense making มีค่าสูงขึ้นอย่าง    มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 รวมทั้งประโยชน์ที่นักศึกษาได้รับจากการเรียนการสอนแบบผสมผสาน            มี 6 ประการ คือ 1) นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจวิชาฟิสิกส์มากขึ้นn 2) นักศึกษาสามารถเชื่อมโยงฟิสิกส์กับชีวิตประจำวันและการเรียนวิชาอื่น 3) นักศึกษาได้เปิดโลกทัศน์และมุมมองใหม่ๆ เกี่ยวกับฟิสิกส์ 4) นักศึกษาได้รับการพัฒนาทักษะการคิด  5) นักศึกษามีเจตคติที่ดีต่อวิชาฟิสิกส์ และ 6) นักศึกษาได้รับแนวคิดในการใช้ชีวิต

 

Abstract

               The purpose of this research were to study mixed-teaching model effects to attitude toward Physics of undergraduate students. The samples used in this study were the 222 undergraduate students at King Mongkut's University of Technology Thonburi. The research methodology was pre-experimental design. The research tools used were lesson plan, attitude assessment form and reflection form. The analytical methods of this research consisted of quantitative data analysis and qualitative data analysis.

            The research finding was the results of mixed-teaching model effects to attitude toward Physics showed that The posttest of attitude toward Physics of undergraduate students was higher than the pretest with the significance level of .05 especially the real world connection factor and sense making factor.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ