การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ระบบเศรษฐกิจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้

Main Article Content

วัลยา แซ่จิว

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่องระบบเศรษฐกิจ ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้  2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ระบบเศรษฐกิจ ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนศรีวิชัยวิทยา อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9 จำนวน 45 คน

            เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1)  แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ระบบเศรษฐกิจ ซึ่งจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์เชิงสถานการณ์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ระบบเศรษฐกิจ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ระบบเศรษฐกิจ  4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา

            ผลการวิจัยพบว่า

            1.  ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

            2.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ระบบเศรษฐกิจ หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

            3.  ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด

Abstract

            The purpose of this experimental research were to: 1) compare the analytical thinking abilities of Matthayomsuksa 5 students before and after the participation in the learning management using constructivism approach 2) compare the learning outcome on economy system of Matthayomsuksa 5 students before and after the participation in the learning management using constructivism approach 3) study the opinion of Matthayomsuksa 5 students about the instruction with constructivism approach. The sample of this research consisted of 45 Matthayomsuksa 5/4 students studying in the seconds semester during the academic year 2014 in Srivichaiwitthaya School, Meuang Nakornpathom district, Nakornpathom Province of the Office of Secondary School Distrit 9.

            The instruments employed to collect data were: 1) lesson plan 2) a analytical thinking abilities tests 3) learning outcome tests and 4) a questionnaire on the opinion of students towards the instruction constructivism approach. The collected data was analyzed for mean  standard deviation (S.D.)  t-test dependent and content analysis.

            The research results revealed that

            1.  The analytical thinking abilities of students on economy system gained after the participation in the learning management using constructivism approach was higher than before at the level of .05 significance.

            2.  The learning outcome of students on economy system gained after the participation in the learning management using constructivism approach was higher than before at the level of .05 significance.

            3.  The opinions of students towards the instruction with constructivism approach were at the highest level of agreement.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ