การศึกษาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมวัดสุวรรณดาราราม ราชวรวิหาร จ.พระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ปัญจเวช บุญรอด

Abstract

บทคัดย่อ

                วัดสุวรรณดาราราม ราชวรวิหาร เดิมชื่อวัดทอง สร้างโดยสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก มีพระนามว่า “ทองดี” มีชายานามว่า “ดาวเรือง” เป็นผู้สร้างวัดแห่งนี้ ซึ่งทั้งสองพระองค์เป็นพระชนกและพระราชชนนีของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ต่อมาใน พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาได้เสียแก่พม่าวัดแห่งนี้จึงอยู่ในสภาพรกร้าง ครั้นเมื่อ  พ.ศ.2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้เสวยราชสมบัติแล้ว ใน พ.ศ.2328  ได้โปรดฯให้จัดการปฏิสังขรณ์วัดทองขึ้นใหม่ทั้งพระอารามและในการปฏิสังขรณ์ ครั้งนี้ สมเด็จพระบวรราชเจ้าฯมหาสุรสิงหนาท(วังหน้า) ได้ทรงร่วมปฏิสังขรณ์ด้วย ต่อมาก็มีการทำนุบำรุงโดยพระมหากษัตริย์แห่งบรมราชจักรีวงศ์ตลอดจนถึงปัจจุบัน

              บทความนี้นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงรูปแบบและพัฒนาการทางสถาปัตยกรรมวัดสุวรรณดารารามราชวรวิหารที่มีการเปลี่ยนแปลงในยุคสมัยต่างๆ โดยการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาตอนปลายจนถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จากเอกสารทางประวัติศาสตร์ รูปแบบสถาปัตยกรรม ประกอบกับการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางสถาปัตยกรรมที่สำคัญในแต่ละยุค

              ยุคแรก คือสมัยอยุธยาตอนปลาย ผู้ศึกษาพบหลักฐานการขุดค้นทางโบราณคดีบริเวณพระอุโบสถซึ่งมีร่องรอยการอยู่อาศัยในสมัยอยุธยาตอนปลายซึ่งเป็นไปได้ว่าเขตพุทธาวาสเดิมนั้นอยู่ในตำแหน่งปัจจุบัน

              ยุคที่สอง ช่วงสมัยรัชกาลที่ 1 เป็นการบูรณะ ปฏิสังขรณ์ครั้งสำคัญซึ่งปรากฏในปัจจุบันคือพระอุโบสถที่ยังคงมีรูปแบบศิลปะสถาปัตยกรรมในสมัยอยุธยาแต่ยังแสดงถึงการผสมผสานรูปแบบสถาปัตยกรรมในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นด้วย

              ยุคที่สาม ช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 ยุคนี้มีการเปลี่ยนแปลงของเขตพุทธาวาสครั้งใหญ่คือ มีการสร้างพระวิหาร พระเจดีย์ทรงระฆังท้ายวิหาร พระเจดีย์ราย หอระฆัง ปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่หน้าพระอุโบสถและ ก่อกำแพงล้อมเขตพุทธาวาสขึ้นใหม่ ทำให้แนวแกนของเขตพุทธาวาสนี้มี 2 แกนหลัก

Abstrac      

               Wat Suwandararam Rajaworavihara, previous name Wat Tong, was name after the royal parents of King Rama I of Ratanakosin Dynasty who established it. The name of his father and mother were Tongdee and Daorueang, respectively. Since 1767, Ayutthaya lost to Burma, this temple was neglected and untidy. In 1772, King Rama I ascended the throne. In 1775,heordered to restore this temple. Prince ot the palacw to the front Maha Surasinghanait  also participated in the restoration. The temple has been maintained until now.

               The objective of this research is to figure out the architectural style and development and architectural style which was changed in each period of time at Wat Suwandararam Rajaworavihara. The research methods were data gathering about architectural history of late Ayutthaya period to early Ratanakosin period from documents, archives and then data analyzing in the topic of the important architectural style which was changed in each period of time. These finding obtained.

               The age is first late Ayutthaya period, the archaeological evidences of ubosot area showed that land was used in late Ayutthaya period. This means that the shrine might be at the same place.

               The age is second of King Rama I, this time was the significant restoration which has been suggested today by mixing of ubosot’s architectural style between late Ayutthaya period and early Ratanakosin period.

               Last age that appear of King Rama IV, there had been considerable renovation in shrine area. Vihara, bell shaped stupa at rear of vihara, small stupas, bell tower were built. Bodhi Tree was planted in front of ubosot. Shrine wall was rebuilt which caused shrine area had 2 main axis. 

Article Details

Section
บทความ : ศิลปะและการออกแบบ