ผลกระทบของการรับรู้การสนับสนุนการจัดการความสามารถพิเศษส่งผลต่อ ผลการปฏิบัติงานเชิงนวัตกรรมของพนักงาน บริษัท ผู้ผลิตพลาสติกเพื่อการบรรจุภัณฑ์

Main Article Content

ธัชวิชญ์ ชัยทวีศักดิ์
วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์

Abstract

บทคัดย่อ

            การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาผลกระทบการรับรู้การสนับสนุนการจัดการบุคลากรที่มีความสามารถพิเศษ ด้านการบริหารผลการปฏิบัติงาน การพัฒนาสมรรถนะการจัดสรรค่าตอบแทนและการส่งเสริมความก้าวหน้าในสายอาชีพ 2.เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคิดเชิงสร้างสรรค์กับผลการปฏิบัติงานเชิงนวัตกรรม 3.เพื่อศึกษากลยุทธ์ในการจัดการบุคลากรที่มีความสามารถพิเศษส่งผลต่อผลต่อ ผลการปฏิบัติงานเชิงนวัตกรรม 4.เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานเชิงนวัตกรรม โดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่ายและแบบพหุคูณ       ผลการศึกษาพบว่า การรับรู้การสนับสนุนด้านการบริหารผลการปฏิบัติงาน ด้านพัฒนาสมรรถนะ ด้านจัดสรรค่าตอบแทนและด้านการส่งเสริมความก้าวหน้าในสายอาชีพ มีค่าเฉลี่ยมากทุกด้านการทดสอบสมมุติฐานพบว่า ด้านการบริหารผลการปฏิบัติงานมีอิทธิพลต่อความคิดเชิงสร้างสรรค์ แต่ไม่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานเชิงนวัตกรรม ด้านการพัฒนาสมรรถนะมีอิทธิพลต่อความคิดเชิงสร้างสรรค์และผลการปฏิบัติงานเชิงนวัตกรรมด้านการส่งเสริมความก้าวหน้าในสายอาชีพมีอิทธิพลต่อความคิดเชิงสร้างสรรค์และผลการปฏิบัติงานเชิงนวัตกรรมส่วนปัจจัยด้านการจัดสรรค่าตอบแทนไม่มีอิทธิพลกับความคิดเชิงสร้างสรรค์และผลการปฏิบัติงานเชิงนวัตกรรมประโยชน์ที่ได้จากการวิจัยทำให้องค์กรเห็นแนวทางการกำหนดแผนธุรกิจ และกำหนดกลยุทธ์นโยบายการบริหารบุคลากร เพื่อธำรงรักษาพนักงานดาวเด่น เพื่อสร้างสรรค์ผลงานเชิงนวัตกรรมและสร้างความแตกต่างให้แก่ธุรกิจ อันจะส่งผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจ

Abstract

          The objectives of this research were. 1) The effects of perceived management support personnel with talent management performance, competency development, the allocation of compensation and promotion of career advancement. 2) To study the relationship between creative thinking and innovative performance. 3) To evaluate strategies to manage staff with special abilities affect the performance oriented innovation. 4) To study  the factors that affect performance oriented innovation. Questionnaires data wer analyzed with descriptive statistics. The simple and multiple regression is used to assess hypotheses in this study. Th study found that to recognize the support the administration's performance. Capacity development, the allocation of remuneration and promotion of career advancement. The average in all aspects to test the hypothesis that Management Performance influence creative thinking. But do not influence the performance, innovative development capability to influence creative thinking and innovative performance. To promote the career advancement influence creative thinking and innovative performance. The allocation factor compensation has no influence on creative thinking and innovative performance. The benefits of the research, the organization that sets guidelines for business plans. Strategic policy and management personnel. To maintain and create works that stand out and make a difference to the business. This will affect the competitive advantage of a business.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ