การศึกษาความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ใช้วิธีสอนอ่านแบบ MIA

Main Article Content

อรพัทธ ศิริแสง

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการจัดเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนอ่านแบบ MIA 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ที่ใช้วิธีสอนอ่านแบบ MIA กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/6  มีจำนวน 30 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนอนุบาลยโสธร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการอ่านจับใจความที่ใช้วิธีสอนอ่านแบบ MIA จำนวน 4 แผน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านจับใจความที่ใช้วิธีสอนอ่านแบบ MIA เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ที่ใช้วิธีสอนอ่านแบบ MIA การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่า เฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) การทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependen

               ผลการวิจัยพบว่า

                1) ความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังการจัดการเรียนรู้ที่ใช้วิธีสอนอ่านแบบMIAสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                2) ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ที่ใช้วิธีสอนอ่านแบบ MIA อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก

Abstract

            The purposes of this research were 1) to compare the reading comprehension of Prathomsuksa 4 students before and after using the MIA reading teaching method, and 2) tostudyPrathomsuksa 4 students’ attitude toward MIA reading teaching method. The samples were 30 Prathomsuksa 4/6 students of Anubanyasothon School. The research was conducted within second semester of the 2014 Academic Year.

            The instruments used in this study were 1) 4 lesson plans of reading comprehension  using the MIA reading teaching method 2) Using the multiple choices of MIA reading teaching method to test the readingcomprehension skill, and 3)The questionnaires of Prathomsuksa 4 to assess the student’s attitude toward the MIA reading teaching method.The data was analyzed by  mean () and Standard Deviation (S.D.). The results were analyzed using a t-test dependent design.

            The research findings were as follows:

                1.  The reading comprehension of Prathomsuksa 4 students’ taught by using MIA reading teaching method were significantly higher than before study at the .05 level.

                 2.  The Prathomsuksa 4 student’s attitude toward MIA reading teaching method were at high agreement level

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ