รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของสวนผึ้ง

Main Article Content

ปิรันธ์ ชิณโชติ

Abstract

บทคัดย่อ

            การศึกษาวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ใช้เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล เป็นแนวสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ซึ่งผู้ให้ข้อมูลหลักในการวิจัย คือ ผู้ที่เกี่ยวด้านการท่องเที่ยว ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการในพื้นที่ และนักวิชาการ ในอำเภอสวนผึ้ง จำนวน 10 คน ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของสวนผึ้ง เป็นการสร้าง หรือการเพิ่มมูลค่าให้แก่ทรัพยากรที่มีอยู่ให้สูงที่สุด ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรทางธรรมชาติ หรือวัฒนธรรม นำมาสร้างนวัตกรรมการสร้างสรรค์ ออกมาเป็นรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยว สินค้าหรือบริการการท่องเที่ยวใหม่ๆ โดยความร่วมมือจากทั้งผู้ประกอบการ และชุมชน โดยสามารถสร้างการมีส่วนร่วม การเรียนรู้ และเพิ่มทักษะให้แก่นักท่องเที่ยวได้ การศึกษาดังกล่าวจึงสามารถสรุปได้ว่า การจะพัฒนาสวนผึ้งให้ก้าวสู่การเป็นเมืองที่มีรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ได้นั้น ต้องสามารถ นำจุดเด่นของสวนผึ้งมาพัฒนาร่วมกับองค์ประกอบของบริบทต่างๆให้ประสานสอดคล้องกัน ผู้วิจัยจึงได้นำเสนอ องค์ประกอบของรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของสวนผึ้งใน 5 องค์ประกอบ ได้แก่ แหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์, ผู้ประกอบการเชิงสร้างสรรค์,  ชุมชนเชิงสร้างสรรค์, กิจกรรม หรือสินค้าเชิงสร้างสรรค์, การสื่อสารเชิงสร้างสรรค์

 

คำสำคัญ: การท่องเที่ยว, รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

 

Abstract

            The research model of creative tourism of Suan Phueng, Ratchaburi aimed to study model creative tourism of Suan Phueng. This research was qualitative research, the tools was the in-depth interview form. The key informant was the 10 specialist of tourism in Suan Phueng include Government agencies, Entrepreneur, Academician.

          The result found that the model of creative tourism of Suan Phueng is to build or create the value-added for the tourism resources which available in Suan Phueng. Create innovative tourism pattern which utilized both natural and culture resources, lead to new tourism activities, products and services. Cooperate of both entrepreneur and local community to create learning engagement and skills to visitors.

 

            To develop Suan Phueng to be the city of creative tourism, must utilized strength of Suan Phueng and cooperate with the factors that reflects context of Suan Phueng. There are 5 factors to proposed included, Creative Destination, Creative Entrepreneur, Creative Locals, Creative Activities & Products, Creative Communication.

 

Keywords: Tourism, Tourism Management Model, Creative Tourism

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ