อิทธิพลของพฤติกรรมการนำแบบให้พลัง ความเชื่อในประสิทธิภาพของตน ความยึดมั่นผูกพันในงาน ความพึงพอใจในงาน ที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของครู

Main Article Content

ยุวรี ผลพันธิน

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์องค์ประกอบของผลการปฏิบัติงานของครู 2) พัฒนาและตรวจสอบโมเดลเชิงสาเหตุของผลการปฏิบัติงานที่ได้รับอิทธิพลจากพฤติกรรมการนำแบบให้พลัง ความเชื่อในประสิทธิภาพของตน ความยึดมั่นผูกพันในงาน และความพึงพอใจในงานของครู 3) ศึกษาอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของพฤติกรรมการนำแบบให้พลัง ความเชื่อในประสิทธิภาพของตน ความยึดมั่นผูกพันในงาน และความพึงพอใจในงานของครู ในโมเดลผลการปฏิบัติงานของครู กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 934 คน ได้มาโดยการสุ่มหลายขั้นตอน (multi-stage random sampling) และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 6 ท่าน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแนวทางการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลการตรวจสอบความตรงของโมเดลด้วยโปรแกรมลิสเรล (LISREL) และวิเคราะห์ผลการสัมภาษณ์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)

            ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการสังเคราะห์องค์ประกอบของผลการปฏิบัติงานของครูจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัย และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการจัดการชั้นเรียนและสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ ด้านการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง และด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 2) ผลการวิเคราะห์ความตรงของโมเดล พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์มีค่า= 87.134, df=70, p=0.080, GFI=0.990, AGFI=0.975, RMR=0.008,RMSEA=0.016 ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของผลการปฏิบัติงานของครูได้ร้อยละ 69.1 และ 3) ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อผลการปฏิบัติงานของครูสูงที่สุด ได้แก่ ความเชื่อในประสิทธิภาพของตน รองลงมาคือความยึดมั่นผูกพันในงาน  ตัวแปรพฤติกรรมการนำแบบให้พลังมีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการปฏิบัติงานของครู โดยส่งผ่านความเชื่อในประสิทธิภาพของตน และความยึดมั่นผูกพันในงาน และความเชื่อในประสิทธิภาพของตนมีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการปฏิบัติงาน โดยส่งผ่านความยึดมั่นผูกพันในงาน

 

คำสำคัญ : พฤติกรรมการนำแบบให้พลัง, ความเชื่อในประสิทธิภาพของตน, ความยึดมั่นผูกพันในงาน, ความพึงพอใจในงาน, ผลการปฏิบัติงานของครู

 

Abstract

            The purposes of the research were 1) to synthesis factors of teacher’s job performance 2) to develop and validate the causal model of teacher’s job performance effecting by empowering leadership behavior, self-efficacy, work engagement and job satisfaction and 3) to analyze the direct effect and indirect effect of self-efficacy, work engagement and job satisfaction in a teacher’s job performance model. Sample consisted of 934 primary and secondary teachers in public schools using multi-stage random sampling and 6 key informants. Data were collected using questionnaires and interviews guideline. Analyzed using LISREL to validate the causal model, and using content analysis for the interview.

            The findings revealed that 1) the factors of teacher’s job performance consist of instruction, management classroom and learning environment, role model and interpersonal skill. 2) the model fit statistics were = 87.134, df=70, p=0.080, GFI=0.990, AGFI=0.975, RMR=0.008,  RMSEA=0.016. It could accounted for 69.1 percent of teacher’s job performance. 3) the most direct effecting of teacher’s job performance model was self efficacy, the second was work engagement. Whereas empowering leadership behavior had indirect effecting on teacher’s job performance by self efficacy and work engagement. And self efficacy had indirect effecting on teacher’s job performance by work engagement.

 

Keywords :  empowering leadership behavior, self-efficacy, work engagement, job satisfaction , teacher’s job performance

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ