การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์โดยใช้ กลวิธี STAR ร่วมกับกราฟิกออแกไนซ์เซอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

สมเกียรติ อินทสิงห์

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยเรื่อง การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธี STAR ร่วมกับกราฟิกออแกไนซ์เซอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์เพื่อ      1) ศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธี STAR ร่วมกับกราฟิกออแกไนซ์เซอร์และ   2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธี STAR ร่วมกับกราฟิกออแกไนซ์เซอร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง ม. 4/1 โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 54 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายโดยการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม จำนวน 13 แผน ที่ใช้กลวิธี STAR ร่วมกับกราฟิกออแกไนซ์เซอร์ แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบที ส่วนในเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแล้วบรรยายเชิงพรรณนา

            ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธี STAR ร่วมกับกราฟิกออแกไนซ์เซอร์ของนักเรียนในด้านการระบุข้อมูลจากโจทย์ การเปลี่ยนภาษาเป็นสัญลักษณ์ การวางแผนและดำเนินการหาคำตอบร่วมกับใช้กราฟิกออแกไนซ์เซอร์ช่วยในการคิด และการพิจารณาความสมเหตุสมผลของคำตอบ โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี และคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์หลังการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ 60% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

คำสำคัญ : กลวิธี STAR, กราฟิกออแกไนซ์เซอร์, ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์

 

Abstract

            The purposes of development of problem solving ability and learning achievement in Mathematics by using the STAR strategy and graphic organizer for Mathayomsuksa Four students were to (1) study of Mathematical problem solving ability by using the STAR strategy and graphic organizer; and (2) study of  Mathematical learning achievement by using the STAR strategy and graphic organizer. The samples were 54 Mathayomsuksa four students at The Prince Royal’s College in Science and Mathematics program on second semester of the academic year 2014 that was selected by simple random sampling. The instruments in data collection consisted of lesson plans by using the STAR strategy and graphic organizer, Mathematical problem solving ability forms, and Mathematics learning achievement tests. Percentage, mean, standard deviation and t – test were used for analyzing quantitative data, and content analysis with descriptive explanation was used for analyzing qualitative data.

            The research findings founded that the students had developed Mathematical problem solving ability in all 4 ways: to search the word problem, to translate the problem, to answer the problem with graphic organizer helping, and to review the solution with the total average of the “good” level. The Mathematics learning achievement after learning was higher than 60% at the .05 level of significance.

 

Keywords : STARstrategy, Graphic organizer, Mathematical problem solving ability,Mathematics learning achievement

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ