ประสิทธิผลของเครื่องมือการสื่อสารเพื่อจัดการความแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้รับการบริการชาวต่างชาติในโรงพยาบาลสามพราน จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

สุนันทา เอ๊าเจริญ
พระปลัดสมชาย ดำเนิน

Abstract

บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิผลของเครื่องมือ จากการใช้เครื่องมือการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้รับบริการชาวพม่าในงานห้องคลอด โรงพยาบาลสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยวิธีการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experiment Research) เปรียบเทียบผลก่อนและหลังการทดลองด้วย Paired-Samples T test กลุ่มตัวอย่างได้มาจากหญิงตั้งครรภ์ชาวพม่าที่มารับการบริการในส่วนงานห้องคลอด โรงพยาบาลสามพราน จังหวัดนครปฐม จำนวน 30 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดย แบบสังเกตพฤติกรรมการสื่อสารและชุดเครื่องมือทางการสื่อสาร
ผลการทดลองพบว่า ประสิทธิผลในการสื่อสาร ก่อนและหลังการทดลองโดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 พฤติกรรมการรับสารของผู้รับบริการชาวพม่าหลังการใช้ชุดเครื่องมือสื่อสาร มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเชิงบวกเพิ่มขึ้น สามารถปฏิบัติตัวได้ตรงตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ โดยที่เจ้าหน้าที่ใช้เวลาในการสื่อสารในแต่ละขั้นตอนลดลง
สรุปได้ว่า ชุดเครื่องมือสื่อสารที่สร้างขึ้น สามารถช่วยลดปัญหาการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้รับบริการชาวพม่า ในงานห้องคลอด โรงพยาบาลสามพรานจังหวัดนครปฐมได้จริง

คำสำคัญ : ประสิทธิผล, เครื่องมือการสื่อสาร, เจ้าหน้าที่, ผู้รับการบริการชาวต่างชาติ

 

Abstract
    This research is intended to present the result of using communication tool between the officers and Burmese service recipients in the work of the labour room in Samphran Hospital, Nakhon Pathom Province. This study is Quasi Experiment Research (Paired-Samples T test); the sample groups are from the coincident random by selected from 30 Burmese pregnant women who come for service in the labour room work section, Samphran Hospital, Nakhon Pathom Province. Data were collected by the notice of communication behaviors and the set of communication tool.
The outcome of the experiment is that the total scores of the effectiveness in the communication before and after the experiment are clearly different with the statistical significance at the level of 0.01. The behavior upon message receiving of Burmese service recipients after using shows more positive change in that they can follow the officers’ instruction; plus, the time decrease of the officers’ communication in each step.
It is concluded that the designed set of the communication tool can be truly used to lessen communication problem between the officers and Burmese service recipients in the labour room work section of Samphran Hospital, Nakhon Pathom Province.

Keyword: The Effectiveness; Communication Tools; Officials; Recipients of foreign Services

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ