การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์กับการเป็นองค์การศักยภาพสูง

Main Article Content

สุรมงคล นิ่มจิตต์
ธีระวัฒน์ จันทึก

Abstract

        ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วองค์การทุกองค์การต้องการบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายตามที่องค์การได้กำหนดเอาไว้ ต้องการความได้เปรียบในการแข่งขัน เป็นองค์การศักยภาพสูงที่มีผลตอบแทนในระดับสูง ดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน และเป็นที่ยอมรับของสังคม การเป็นองค์การศักยภาพสูงสามารถพิจารณาได้จากหลักเกณฑ์หลายประการ เช่น ความสามารถในการสร้างผลตอบแทน ส่วนแบ่งทางการตลาด การนำเสนอสินค้ารุ่นใหม่ และด้านการเงิน นอกจากนั้นองค์การศักยภาพสูงประกอบไปด้วย 1) การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง 2) เน้นที่การเปิดใจและการกระทำ 3) คุณภาพของผู้บริหาร 4) คุณภาพของแรงงาน และ 5) การเน้นความสัมพันธ์ระยะยาว แนวทางหนึ่งในการสร้างองค์การศักยภาพสูงคือการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันผ่านกระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ ซึ่งมองมนุษย์เป็นทรัพยากรหนึ่งที่สำคัญขององค์การ เป็นการบูรณาการการจัดการทรัพยากรมนุษย์เข้ากับกระบวนการในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ขององค์การและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของธุรกิจ ทั้งภายในและภายนอก เพื่อกำหนดเป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจ และเชื่อมโยงเข้ากับแนวปฏิบัติด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ การวางแผนอัตรากำลังและการจัดคน การเรียนรู้และการพัฒนา แรงงานสัมพันธ์ การบริหารผลการปฏิบัติงาน และ การพัฒนาองค์การ เมื่อองค์การสามารถจัดการทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับกลยุทธ์ในระดับองค์การแล้วก็จะส่งผลให้องค์การเกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน สามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ ในท้ายที่สุดก็จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจประเทศโดยรวม สินค้าและบริการที่ผลิตได้จะตรงกับความต้องการของผู้บริโภค มีต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม เกิดการสูญเสียน้อย พนักงานมีความสามารถเพิ่มขึ้น มีความสุขกับการทำงานและชีวิตส่วนตัว ทำให้สังคมทุกด้านดีขึ้น

 

         Although environmental situation dramatically rapidly changes, every organization wants to achieve their specified targets, competitive advantages and being the High Performance Organization (HPO) with high return, reputation and sustainability. The profitability, market share, new product creation, and finance are considered to be a HPO. Additionally, the process of HPO includes continuous improvement and renewal, openness and action orientation, management quality, workforce quality, and long-term orientation. One approach to develop the HPO is the competitive advantage creation through the strategic human resource management that considers employee as the important resource. The strategic human resource management is an integration between the human resource management concept and the strategic decision making of every organization. This means there is the linkage among internal and external analysis, pros and cons of organization and the five HR practices: workforce planning and staffing, learning and development, employee relations, performance management, and organization development. When an organization efficiently aligns their human resource management with their corporate strategy, it could anticipate the competitive advantage and organizational achievement. Eventually, it can bring the opportunity to country economy. Products and services meet the customer’s need. The employees have work-life balance and improve their work performance.

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ