เครือข่ายการสื่อสารโครงการผูกปิ่นโตข้าวกับการพัฒนาศักยภาพตลาดทางเลือกของกลุ่มทำนาเลิกเคมีจังหวัดอ่างทอง

Main Article Content

ณภัสนันท์ อำไพ
กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ

Abstract

บทคัดย่อ

               การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการสร้างเครือข่ายการสื่อสารของโครงการผูกปิ่นโตข้าว และกลุ่มทำนาเลิกเคมี  จังหวัดอ่างทอง  ศึกษากลยุทธ์การสื่อสารของโครงการผูกปิ่นโตข้าวเพื่อสร้างการมีส่วนร่วม  รวมถึงศึกษาปัจจัยของโครงการผูกปิ่นโตข้าวที่ส่งผลให้กลุ่มทำนาเลิกเคมี จังหวัดอ่างทอง เกิดการพัฒนาศักยภาพตลาดทางเลือก งานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การศึกษาจากเอกสารข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การศึกษาแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการเข้าร่วมสังเกตการณ์อย่างไม่มีส่วนร่วม

               ผลการวิจัยพบว่า การสร้างเครือข่ายการสื่อสารของโครงการผูกปิ่นโตข้าว กับกลุ่มทำนาเลิกเคมี  จังหวัดอ่างทอง ประกอบด้วยสมาชิก 3 กลุ่มหลัก คือ แกนนำผู้ก่อตั้งโครงการผูกปิ่นโตข้าว (‘แม่สื่อ’) กลุ่มทำนาเลิกเคมี จังหวัดอ่างทอง (‘เจ้าบ่าว’) และผู้บริโภค (‘เจ้าสาว’) โดยมีการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มผ่านสื่อสังคมออนไลน์อย่าง เฟซบุ๊กที่เป็นสื่อกลางประชาสัมพันธ์โครงการ และไลน์ที่ใช้เป็นสื่อกลางในการสื่อสารระหว่างกลุ่ม รวมถึงการสื่อสารแบบเผชิญหน้าอย่าง การเยี่ยมเยียนนาของผู้ซื้อข้าว และการประชุมร่วมกัน การมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างกลุ่มทำให้เกิดเครือข่ายที่มีองค์ประกอบสำคัญคือ 1) การรับรู้มุมมองร่วมกัน 2) การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน 3) การมีผลประโยชน์และความสนใจร่วมกัน 4) การเสริมสร้างซึ่งกันและกัน  และ 5)การมีปฏิสัมพันธ์เชิงแลกเปลี่ยน สำหรับกลยุทธ์การสื่อสารของโครงการเพื่อสร้างการมีส่วนร่วม มี 4 ประเด็นสำคัญ คือ กลยุทธ์ด้านผู้ส่งสาร กลยุทธ์ด้านการวิเคราะห์ผู้รับสาร กลยุทธ์ด้านการออกแบบสาร และกลยุทธ์ด้านการใช้สื่อ กลยุทธ์การสื่อสารดังกล่าวสามารถดึงดูดความสนใจให้เกิดการเข้าร่วมโครงการของสมาชิกและเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกันในเครือข่าย ส่วนปัจจัยของโครงการผูกปิ่นโตข้าวที่ส่งผลให้กลุ่มทำนาเลิกเคมี จังหวัดอ่างทองเกิดการพัฒนา คือ ปัจจัยด้านความมีจิตอาสา ปัจจัยด้านการรวมตัวเป็นเครือข่าย และปัจจัยด้านการใช้สื่อ โดยปัจจัยดังกล่าวมานี้ส่งผลให้เกิดความสัมพันธ์ที่เกื้อกูลกันระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค และการค้าขายที่เป็นธรรมซึ่งสอดคล้องตามแนวทางตลาดทางเลือก   

Abstract

               The purposes of this research, Pook  Pin To Kao Communication network for The Development  of Alternate Organic Rice Market  in  Aung Tong Province, is to study the network, the strategy of communication leading to the participation of all parties concerned, and the factors of the project  Pook Pin To Kao affecting the development of the organic rice farming. The research has been conducted in a qualitative method by studying the concerned information, using in-depth interviews, and non–profit observation in the meeting.

               The result of the research reveals that the network of Pook Pin To Kao comprises of 3 groups of people - the coordinators or “ matchmakers ”, the organic rice  farmers or           “ grooms ”,the customers  or “ brides ”. The Communication among the three groups               has been done by dispatching information through social networks such as    “ www.facebook.com/pookpintokao”, LINE application used among groups, visiting organic rice farms, and non-profit attending the meeting. The consequences of the interaction create the perception of the common perspective, common vision, common benefits and interests, common constructive attitude, and interaction in exchanging ways. For the strategies of the communication leading to the participation, there are 4 important strategies - strategy for information dispatchers, the strategy for information receivers, strategy for forming information, and strategy for using media. These strategies could draw attention from people in various sectors to participate in the project, and at the same time they work as the coordinator for interaction in the network. For the factors of Pook Pin To Kao leading to the development of the organic rice farming, there are factors of volunteers, factor of participation in the network, and factor of using media. These factors create mutual–benefit relationship between the organic rice farmers and the customers in addition to a proper trading, which coincide with the concept of alternate marketing.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ