แนวทางการพัฒนาผู้สูงอายุจากภาระให้เป็นพลัง กรณีศึกษาเทศบาลนครรังสิต

Main Article Content

ณัฏฐ์ฐิตตา เทวาเลิศสกุล
วณิฎา ศิริวรสกุล
ชัชสรัญ รอดยิ้ม

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัญหาและอุปสรรค 2) ศักยภาพ 3) ความต้องการในการพัฒนาศักยภาพ และ 4) แนวทางการพัฒนาผู้สูงอายุจากภาระให้เป็นพลังในเขตเทศบาลนครรังสิต การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ นายกเทศบาลนครรังสิต 1 คน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 4 คน และผู้สูงอายุเทศบาลนครรังสิต 32 คน รวมทั้งสิ้น 37 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และการบรรยายเชิงพรรณนา ผลการศึกษาวิจัย พบว่า

            1. ปัญหาและอุปสรรคของผู้สูงอายุ (1) ด้านบุคลากร คือ บุคลากรในการดูแลผู้สูงอายุไม่เพียงพอ (2) ด้านงบประมาณ คือ การจัดงบประมาณในการดูแลผู้สูงอายุยังไม่ครอบคลุมต่อความต้องการของผู้สูงอายุ (3) ด้านการบริหารจัดการ คือ อำนาจหน้าที่ของเทศบาลนครรังสิตมีข้อจำกัดที่ไม่ครอบคลุมการจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุในบางเรื่อง (4) ด้านร่างกาย คือ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง และอาการเจ็บป่วย (5) ด้านจิตใจและอารมณ์ คือ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความหงุดหงิดจากปัญหาสุขภาพ และปัญหาสภาพแวดล้อม (6) ด้านครอบครัวและสังคม คือ ปัญหาเศรษฐกิจที่ต้องดิ้นรนทำกินจนไม่มีเวลาปฏิสัมพันธ์กันในครอบครัว และ (7) ด้านรายได้และสวัสดิการ คือ รายได้ไม่สมดุลกับรายจ่าย

             2. ศักยภาพของผู้สูงอายุ (1) ด้านทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ คือ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความคิดที่เป็นระบบ มีประสบการณ์ มีความรู้ มีความคิดเป็นผู้นำ และมีการสื่อสารที่ชัดเจนพอสมควร (2) ด้านการทำงาน คือ ผู้สูงอายุเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ใช้ความรู้ ความเชี่ยวชาญมาช่วยทำงานพัฒนาชุมชน และ (3) ด้านการมีส่วนร่วมและการอยู่ร่วมกันในสังคม คือ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความยินดีมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและเข้าร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน

 

            3.  ความต้องการของผู้สูงอายุ (1) ด้านร่างกาย คือ ต้องการศูนย์สุขภาพ และการดูแลตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ (2) ด้านการพัฒนาความรู้ คือ ต้องการการอบรมให้ความรู้ด้านต่างๆ (3) ด้านรายได้และสวัสดิการสังคม คือ ต้องการรายได้จากเบี้ยยังชีพที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต และ (4) ด้านครอบครัวและสังคม คือ ต้องการให้ลูกหลานดูแลเอาใจใส่ตนอย่างใกล้ชิดทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

            4.  แนวทางการพัฒนาผู้สูงอายุจากภาระให้เป็นพลัง (1) ด้านการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ คือ การจัดกิจกรรมสันทนาการให้กับผู้สูงอายุ (2) ด้านอาชีพ คือ การเชิญวิทยากร อาจารย์สอนอาชีพที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ และ (3) ด้านการบริหารจัดการ คือ การจัดตั้งชมรม 11 ชมรม มีประธานชมรมเป็นตัวแทนประสานงาน

 

Abstract

            This research aimed to study 1) identify problems and obstacles 2) the elderly capability 3) the need to elderly capability development and 4) to study an approach the elderly capability development as a burden to power of Rangsit City Municipality. This qualitative research was conducted by using In-depth interviews of 37 specifically selected samples with 1 Mayor of Rangsit City Municipality, 4 Village Health Volunteer and 32 elderly from 32 community of Rangsit City Municipality., the content analysis and descriptive method were applied. The research findings were found that:

            1.  The problems and obstacles of elderly; (1) The personnel is not enough staff to take care for the elderly, (2) the budget is the budget of the elderly do not cover the needs of the elderly, (3) the management of the authority of Rangsit City Municipality that apply to cover the welfare of the elderly, (4) the body is most elderly are physically very strong and illness, (5) mental and emotional frustration is that most elderly with health problems and environment issues, (6) The family is the economic and social struggles do not take time together in family interaction and (7) the income and welfare income is not balanced with expenditure.  

            2.  The elderly capability of elderly; (1) the basic skills needed to learn that most of the elderly are thought to have knowledgeable, experienced as a thought leader and communicated clearly enough, (2) the work is a little older to use knowledge, expertise to help community development work and (3) the participation and coexistence in society is that most elderly are happy to participate in the development of society and participate in the activities of the community.

         3.  The need to elderly capability development; (1) the body is like a health center and routine care, (2) the development of the training is to provide knowledge in various fields, (3) revenue and social welfare is in need of an adequate pension income for life and (4) the family and society is needed to care for their children closely, both physically and mentally.

            4.  An approach the elderly capability development as a burden to power; (1) the participation of the elderly was organized recreational activities for the elderly, (2) professional is invited, professional instructors teach the elderly, and (3) the management of the clubs representing 11 clubs with club president coordination.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ