การพัฒนาโปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางสังคม สำหรับวัยรุ่นกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า

Main Article Content

ทัชชา สุริโย
อมราพร สุรการ
อัจศรา ประเสริฐสิน

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาและทดลองใช้โปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางสังคมสำหรับวัยรุ่นกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า โดยใช้ทฤษฎีของการให้คำปรึกษากลุ่มแบบเกสตัลท์ ทฤษฎีของการให้คำปรึกษากลุ่มแบบเผชิญความจริง และทฤษฎีของการให้คำปรึกษากลุ่มแบบวิเคราะห์สัมพันธภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา จำนวน 5 คน ที่จะให้ข้อเสนอแนะเพื่อนำไปพัฒนาปรับปรุงโปรแกรม และใช้วิธีวิจัยเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบไปด้วยเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดทฤษฎีความฉลาดทางสังคม ทฤษฎีการให้คำปรึกษากลุ่ม และแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า เพื่อประเมินผลของการพัฒนาโปรแกรม ซึ่งเป็นการวิเคราะห์เนื้อหาและประเมินผลจากผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มเป้าหมายในการทดลองใช้โปรแกรมเลือกแบบเจาะจงจากนักเรียน ซึ่งเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า จำนวน 4 คน และไม่มีความเสี่ยง จำนวน 4 คน

          ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มที่พัฒนาขึ้นใช้ระยะเวลาจำนวน 12 ครั้ง ครั้งละ 90 นาที โดยแต่ละครั้งประกอบด้วยรายละเอียด ได้แก่ (1) ชื่อของโปรแกรม (2) หลักการ (3) จุดมุ่งหมายของโปรแกรม (4) วิธีดำเนินการ ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นเริ่มต้นการให้คำปรึกษา ขั้นดำเนินการให้คำปรึกษา และขั้นยุติการให้คำปรึกษา และ (5) การประเมินผล ซึ่งโปรแกรมนี้มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาองค์ประกอบของความฉลาดทางสังคม 2 ปัจจัย ปัจจัยแรกคือ การตระหนักรู้ทางสังคม ได้แก่ การรับรู้อารมณ์ของผู้อื่น การให้ความสนใจผู้อื่น  การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น และการรับรู้ทางสังคม ปัจจัยที่สองคือ การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ได้แก่ ความสามารถในการเข้าร่วมกับบุคคล ความสามารถในการแสดงตนเอง ความสามารถในการชี้นำพฤติกรรมของบุคคล และความสามารถในการคำนึงถึงผู้อื่น  ระยะเวลาในการใช้โปรแกรม คือ 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 90 นาที ในช่วงเวลา 15.30-17.00 น. ซึ่งโปรแกรมนี้มีการประเมินผลโดยผู้ทรงคุณวุฒิ แล้วนำมาคำนวณค่าดัชนีสอดคล้องระหว่างเนื้อหา (IOC) ซึ่งพบว่ามีค่าระหว่าง 0.80 -1.00 และ 2) เมื่อนำโปรแกรมไปทดลองใช้ พบว่า โปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มที่พัฒนาขึ้นนี้มีคุณภาพสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การพัฒนา สามารถนำไปใช้ในการเสริมสร้างความฉลาดทางสังคมในวัยรุ่นได้

 

 

คำสำคัญ: ความฉลาดทางสังคม , ภาวะซึมเศร้า ,วัยรุ่น , โปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่ม

 

Abstract

            The purpose of this research is to develop and experiment of group counseling program to enhance the social intelligence for adolescents at risk to depression. This was designed to use Gestalt Group Counseling Theory, Reality Group Counseling Theory and Transactional Analysis Counseling Theory. The key informants are 5 experts of psychology to provide feedback to the development and improvement program and using papers research method and study related research which include concepts and theories of social intelligence and group counseling and depression to assess the result of develop the program. This research is content analysis and experts assessment. Samples for studying became resulted by purposive selection from the student 4 persons which risk to depression and 4 persons which no risk to depression.

            This program was used 12 times over 90 minute periods. The components of developing  social intelligence program include (1) the name of the program (2) the principle (3)the aim of the program (4) the procedure has three stages: an event leading to the event ,activities enhancing social intelligence and summary of activities and (5) evaluation. Which focusing on development the elements of social intelligence included of two factors : The first factor was social awareness with primal empathy, attunement, empathic accuracy and social cognition indicators. The second factor was social facility with synchrony, self – presentation, influence and concern indicators. The development program takes place 4 weeks (3 days in each week/90 minutes per day from 15.30-17.00 o/c).The program were evaluated by 5 experts and then calculated the index of item - objective congruence (IOC) showing IOC value from 0.80 – 1.00. And 2) then the program brought to pilot study found this program is in accord with the developmental objectives with are able to apply to the adolescents.

Keyword: Social Intelligence, Depression, Adolescents, Group Counseling Program

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ