รูปแบบการเสริมพลังเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู ที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนระดับประถมศึกษา

Main Article Content

สุดหทัย รุจิรัตน์
มาเรียม นิลพันธุ์

Abstract

บทคัดย่อ

          การพัฒนารูปแบบการเสริมพลังเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนระดับประถมศึกษา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเสริมพลังเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนระดับประถมศึกษา 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการเสริมพลังเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนระดับประถมศึกษา และ 3) เพื่อขยายผลรูปแบบการเสริมพลังเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนระดับประถมศึกษา ผลการวิจัย พบว่า (1) ชื่อรูปแบบการเสริมพลังเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนระดับประถมศึกษา คือ “NICE Model” มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเสริมพลัง การวัดและประเมินผล และปัจจัยสนับสนุนในการนำรูปแบบไปใช้ โดยพบว่า รูปแบบฯ มีคุณภาพ (2) ประสิทธิผลของรูปแบบพบว่า (2.1) ครูผู้สอนมีสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขอยู่ในระดับมาก มีพัฒนาการในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขสูงขึ้น และเห็นว่ารูปแบบการเสริมพลังเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขมีความเหมาะสม (2.2) นักเรียนมีพัฒนาการของการเรียนรู้อย่างมีความสุขสูงขึ้น (3) ผลการขยายผลรูปแบบพบว่า (3.1) ครูผู้สอนมีสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขอยู่ในระดับมาก มีพัฒนาการในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขสูงขึ้น และเห็นว่ารูปแบบการเสริมพลังเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีความสุขมีความเหมาะสม (3.2) นักเรียนมีพัฒนาการของการเรียนรู้อย่างมีความสุขสูงขึ้น

 

คำสำคัญ : รูปแบบการเสริมพลัง/สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ / การเรียนรู้อย่างมีความสุข

 

Abstract  

            The objectives of the research were to: 1) develop and determine the quality of the model, 2) evaluate the effectiveness of the model, and 3) disseminate the model. The result found that: (1) The model called “NICE Model” consisted of 5 components; principles, objective, process, supporting factor and assessment (2)The effectiveness of the Empowerment Model indicated that (2.1) the teachers had instructional competency at the high level, higher development of instructional competency among teachers involved, and 2.2) students showed higher happiness learning. (3) The results of the dissemination indicated that: (3.1) the teachers had instructional competency at the high level, higher development of instructional competency among teachers was evidenced, and 3.2) students showed higher happiness learning.

 

Keyword : Empowerment Model/ Competency in Instructional of Teachers / Happiness Learning 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ