การศึกษาผลกระทบจากพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (พม่า ลาว กัมพูชา) ต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนในชุมชน กรณีศึกษา จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

กุลธิดา ภูฆัง
สมศักดิ์ เจริญพูล

Abstract

บทคัดย่อ

            การศึกษาผลกระทบจากพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (พม่า ลาว กัมพูชา) ต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนในชุมชน กรณีศึกษา จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและรูปแบบการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชุมชนหรือท้องถิ่นในจังหวัดชลบุรี  และรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ รวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชุมชนหรือท้องถิ่นในจังหวัดชลบุรี ใช้วิธีการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติและประชาชนในชุมชนกลุ่มละ 403 คน การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และ การสนทนากลุ่มย่อย  (Group Discussion) จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและได้รับผลกระทบจากพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของแรงงานต่างด้าว  ใช้การวิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมและผลกระทบจากพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของแรงงานต่างด้าว  3 สัญชาติ ต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนในชุมชน เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างโมเดลตามภาวะสันนิษฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์    การวิเคราะห์อิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมของตัวแปร และนำข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ มาสรุปผลร่วมกัน

ผลการวิจัยพบว่า 

               1.  พฤติกรรมและรูปแบบการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ  เป็นการดื่มเป็นประจำแต่ไม่ถึงกับมีอาการเมา มีพฤติกรรมการดื่มแบบเสี่ยงในระดับที่ 2 ด้านรูปแบบการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แรงงานส่วนมากดื่มเบียร์และเหล้าขาว มีค่าใช้จ่ายในการดื่มแต่ละครั้งประมาณ 100-200 บาท ช่วงเวลาที่แรงงานต่างด้าวดื่ม คือช่วงเย็นหลังเลิกงาน และดื่มมากในช่วงที่ค่าแรงออก (ช่วงกลางเดือนและสิ้นเดือน) แรงงานส่วนมากซื้อกลับไปกินที่พักและใช้เวลาในการดื่มไม่นานนัก ส่วนปริมาณการดื่มนั้นดื่มไม่มาก เหล้าขาว 1 ขวดอาจดื่มกันถึง 7-8 คนหรือเบียร์ 1-2 กระป๋องต่อคน พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ข้างต้นเกิดจาก ปัจจัยส่วนบุคคลประกอบด้วยภาวะความเครียดจากการทำงาน ปัญหาครอบครัว ปัญหาด้านการเงิน หนี้สิน และเพื่อความสนุกสนาน ปัจจัยภายนอกที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการดื่ม เกิดจาก การชวนจากกลุ่มเพื่อน หัวหน้างานซึ่งเป็นคนไทยเป็นผู้เลี้ยง และ การจัดงานรื่นเริงหรืองานประเพณีต่างๆ

               2.  ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชุมชนหรือท้องถิ่นในจังหวัดชลบุรี พบว่า มีผลกระทบน้อยมาก ส่วนมากมักเกิดขึ้นในชุมชนหรือบริเวณที่อยู่อาศัยของแรงงานต่างด้าวเอง โดยมีปัญหาด้านเสียงดังรบกวน การทะเลาะวิวาท การเกิดอุบัติเหตุ การเป็นหนี้อันเกิดจากการซื้อสุราแบบเชื่อ เรื่องเพศสัมพันธ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์  ส่วนปัญหาที่เกิดกับชุมชนคนไทยนั้นมักเป็นเรื่องความหวาดละแวงที่คนในชุมชนมีต่อแรงงานต่างด้าว

               3.  รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชุมชนหรือท้องถิ่นในจังหวัดชลบุรี มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์  โดยพบว่าค่าสถิติและดัชนีส่วนใหญ่มีค่าผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ดังนี้  = 0.41., p value of  = 0.472,  /df = 0.999, GFI = 0.986, AGFI = 0.961, SRMR = 0.042, RMSEA = 0.000, NFI = 0.986,  IFI = 1.000,  CFI = 1.000,  PGFI = 0.345, PNFI = 0.394,  CN = 629.862 อิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชุมชนในจังหวัดชลบุรีพบว่า ความแปรปรวนของผลกระทบต่อชุมชนหรือท้องถิ่นจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (COE) ได้ร้อยละ 10 โดยตัวแปรสาเหตุที่มีอิทธิพลโดยรวมต่อผลกระทบต่อชุมชนหรือท้องถิ่นจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มากที่สุดได้แก่ ผลกระทบส่วนบุคคลจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (INE) มากที่สุด รองลงมาได้แก่พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (BEH) การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง (NOR) และความตั้งใจในการการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (INT) ส่วนตัวแปรสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (BEH) มากที่สุดได้แก่ ตัวแปรแฝงการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง (NOR) รองลงมาคือตัวแปรความตั้งใจในการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (INT) ปัจจัยส่วนบุคคล (INV) และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมภายนอก (ENV)

 

คำสำคัญ : พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์,รูปแบบการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ , ผลกระทบต่อ     ชุมชนจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์   

 

Abstract

               The Study on Impact from the Alcohol Consumption of Alien Labors in 3 Nationalities (Myanmar, Laos and Cambodia) to the Living of General People in Communities: A Case Study of Chonburi Province aimed at examining the behavior and style of alcohol, impact to the communities or localities at Chonburi Province, and Linear Structure Relationship Model (LISREL) of factors influencing the alcohol consumption of alien labors in 3 nationalities as well as the impact to the communities or localities at Chonburi Province. This study was the mixed methods research. The data collection was carried out by the questionnaire distributed to the alien labors and community people for 403 persons per group, in-depth interviews, and Group Discussion From those involved and affected by alcohol of alien labors. The quantitative research by an analysis of the Linear Structure Relationship Model (LISREL) of factors influencing the alcohol consumption of alien labors in 3 nationalities  and affecting the living of general people in various communities. This study also aimed at verifying the consistency between the hypothetical model and empirical data, path analysis of direct effect, indirect effect and total effect of variables.. Both qualitative and quantitative data was summarized together to find out the results.

               The results of this study were as follows:

             1.  According to the behavior and style alcohol consumption of alien labors in 3 nationalities , it was found that these labors drank the alcohol directly and regularly, but they were not tipsy or they had the risky drinking behavior at the second level. Regarding the style of alcohol consumption, most of labors drank some beer and rice whisky. These labors spent approximately Baht 100-200 per each drinking. The favorite drinking time of these alien labors was the evening after working hours. They had the heavy drinking on days they received their wage (in the mid and end of each month). Most labors liked to buy some alcohol beverages to drink at their lodging, and they did not take so much time in drinking. For the drinking volume, a bottle of rice whisky was shared by 7-8 alien labors or one labor drank 1-2 cans of beer. The behavior of alcohol consumption mentioned derived from personal factors, which involved work tension, family and financial problems and debts, and the pleasure factor. There were 3 external key factors arousing alien labor’s drinking. It’s because the labors were induced by friends,  the alien labors’ Thai supervisors absorbed the expenses of the alcohol beverage and the alien labors drank during the parties or festivals.

              2.  Regarding the impact to the communities or localities at Chonburi Province, the result showed that Thai communities nearby have been slightly affected. Most problems occurred in the communities or living areas of those alien labors. Those problems included the annoying sound, quarrels, accidents, debts caused by buying the alcohol beverage on credit, sexual intercourse, and sexually transmitted diseases. The problem occurred in the communities of Thai people was the suspicion to those alien labors.

               3.  Linear Structure Relationship Model (LISREL) of factors influencing the alcohol consumption of alien labors in 3 nationalities as well as the impact to the communities or localities at Chonburi Province were consistent with the empirical data. It was found that most statistics and indices passed the determined criteria: χ2 = 0.41, p value of χ2 = 0.472, χ2/df = 0.999, GFI = 0.986, AGFI = 0.961, SRMR = 0.042, RMSEA = 0.000, NFI = 0.986, IFI = 1.000, CFI = 1.000, PGFI = 0.345, PNFI = 0.394, CN = 629.862. The influence of the casual factors affecting the alcohol consumption of alien labors in 3 nationalities  as well as the impact to the communities or localities at Chonburi Province was able to explain the variance of the impact to the communities or localities from the alcohol consumption (COE) at 10 percent. The casual factor generally giving most impact to the communities or localities from the alcohol consumption was the personal factor from the alcohol consumption (INE), followed by behavior of alcohol consumption (BEH), subjective norms (NOR) and intention of drinking the alcohol beverage (INT). The casual factor most influencing the behavior of alcohol consumption (BEH) was the latent variable on subjective norms (NOR), followed by the variables on intention in drinking the alcohol beverage (INT), personal factors (INV), and external environment (ENV)

 

Key words: behavior of alcohol consumption, style of alcohol consumption, impact to communities resulted by alcohol consumption

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ