การประเมินประสิทธิผลการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนานาชาติ ในกลุ่มทีแซค กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

สุภาภรณ์ แพร์รี่
สังวรณ์ งัดกระโทก
นลินี ณ นคร

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ศึกษาการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนานาชาติในกลุ่มทีแซค (2) ประเมินประสิทธิผลการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนานาชาติในกลุ่มทีแซค (3) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะในการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์

               ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนานาชาติ ในกลุ่มทีแซค กรุงเทพมหานคร ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ ปีการศึกษา 2557 ภาคเรียนที่ 3 จำนวน 600 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 234 คน ซึ่งเลือกมาด้วยการสุ่มแบบแบ่งชั้นเครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอ่าน แบบวัดความสนใจในการอ่าน แบบวัดทัศนคติต่อการอ่านและแบบสอบถามภูมิหลังของนักเรียน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

            ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีร้อยละ 55.12 และนักเรียนที่ไม่ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีร้อยละ 44.87 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนสัมฤทธิ์ทางการอ่านของนักเรียนที่ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สูงกว่าค่าเฉลี่ยของนักเรียนที่ไม่ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีความสนใจในการอ่านและทัศนคติต่อการอ่านสูงกว่านักเรียนที่ไม่ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) เมื่อควบคุมปัจจัยแทรกซ้อนแล้ว การใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ส่งผลต่อคะแนนสัมฤทธิ์ทางการอ่านของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) ปัญหาของการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของนักเรียน คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์มีจำนวนน้อย ไม่หลากหลาย และโรงเรียนกำหนดช่วงเวลาให้นักเรียนได้อ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์น้อยเกินไป ส่วนแนวทางการแก้ไข คือ ควรจัดหาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ให้หลากหลาย และควรจัดเวลาเสริมในการอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ให้มากขึ้น

 

คำสำคัญ   การประเมินประสิทธิผล  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์   การอ่าน

 

Abstract

               The purposes of these researches are to: 1) examine the usage of electronic books amongst Grade 5 students 2) Evaluate the effectiveness of using electronic books 3) Identify perceived problems and propose suggestions on the effective use of electronic books.

               The population comprised of 600 5th grade students at TISAC international schools in 3rd semester and 234 students were selected using the stratified random sampling method  .Data was collected using achievement test and a series of surveys and questionnaires designed to collect information on interest and attitudes towards reading and on student background. Data analysis was achieved using percentage, standard deviation, independent sample t – test and multiple regression

               The research showed that: 1) 55.12% of students in the sample used e- books as opposed to 44.87% of sampled students who did not. 2) students who read e-books were shown to have a reading score statistically significant greater than those who did not. 3) students who read e-books were shown to have in interest and positive attitude statistically significant greater than those who did not. 4) After controlling for other factors though multiple regression analysis, the use of e-books had a positive effect on student reading scores, 5) Problems associated with the use of e-book included a lack of texts published in this medium and a paucity of time available for e-book reading

 

Keywords: Effectiveness Evaluation Electronic book Reading

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ