พัฒนาการรูปแบบเรือนแถวค้าขายพื้นถิ่นจีนในจังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

พรพรรณ สันธนาคร
สุพิชชา โตวิวิชญ์

Abstract

บทคัดย่อ

            ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 ชุมชนเมืองได้มีการขยายตัวโดยชาวจีนที่อพยพเข้ามาทำการค้าในตัวจังหวัดงานศึกษาวิจัยชิ้นนี้มุ่งเน้นศึกษาถึงรูปแบบลักษณะทางสถาปัตยกรรมของเรือนแถวที่มีการผสมผสานวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลจากการอยู่อาศัยแบบจีน โดยศึกษาสำรวจข้อมูลทางกายภาพและข้อมูลปริมาณทางตัวเลข ซึ่งจำแนกประเด็นการศึกษาเป็น 3 ประเด็นดังนี้ 1. ศึกษาการเปลี่ยนแปลงกายภาพทางสถาปัตย- กรรมโครงสร้างและส่วนประดับตกแต่ง 2. ศึกษาการใช้งานพื้นที่ภายในกิจกรรมที่ปรับเปลี่ยนไปตามยุคปัจจุบันที่มีความแตกต่างจาก การใช้สอยดั้งเดิม 3. ศึกษากรรมสิทธิ์การถือครองที่ดินที่เข้ามามีบทบาทหน้าที่ทำให้เรือนแถวเปลี่ยนบริบทและศักยภาพไปจากเดิม ทำการเก็บข้อมูลภาคสนามโดยเลือกกรณีศึกษาเรือนแถวทั้งหมด 13 หลัง แบ่งออกเป็น     3 แบบ ได้แก่ แบบที่ 1. เรือนแถวแบบจีนชั้นเดียว แบบที่ 2. เรือนแถวไม้แบบจีนชั้นเดียว แบบที่ 3. เรือนแถวแบบจีนสองชั้นที่มีลักษณะการตกแต่งแบบจีน แบบจีนผสมยุโรป และแบบยุโรป โดยนำเสนอผลงานการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบการใช้สอยในอดีตและปัจจุบัน

          ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้เรือนแถวเปลี่ยนแปลงกิจกรรมการใช้งานและลักษณะทางกายภาพคือการเจริญเติบโตของเมืองซึ่งส่งผลให้ตลาดรูปแบบเดิมถูกลดบทบาทความสำคัญลง เรือนแถวในย่านตลาดเดิมมีการปรับเปลี่ยนการใช้งานรวมไปถึงการไม่สามารถหาวัสดุดั้งเดิมมาซ่อมแซมอาคารได้จึงทำให้ลักษณะทางกายภาพทรุดโทรมและกิจกรรมการใช้งานภายในเปลี่ยนไปนอกจากนี้ยังพบว่ากรรมสิทธิ์อาคาร และการถูกทิ้งร้างมีความสัมพันธ์กัน กล่าวคืออาคารที่มีการให้เช่ามีการใช้สอยมากกว่า และมีอัตราการทิ้งร้างต่ำกว่าอาคารที่ไม่มีการให้เช่า แต่พบว่ามีสภาพทรุดโทรมกว่าอาคารที่เจ้าของดูแลเอง ในขณะเดียวกันอาคารที่ดูแลโดยเจ้าของมีสัดส่วนของการถูกทิ้งร้างมากกว่า แต่มีสภาพอาคารที่สมบูรณ์และได้รับ การดูแลรักษามากกว่า ข้อสรุปนี้ นำไปสู่ความท้าทายของการตั้งคำถามในการวิจัยในอนาคตต่อแนวทางการอนุรักษ์ระหว่างการอนุรักษ์ทางกายภาพและการยังคงความมีชีวิตและการใช้สอยภายในอาคารเอาไว้

 

 

คำสำคัญ :  ย่านการค้าเก่า , ตึกดิน , เรือนแถวแบบจีน , เรือนแถวแบบยุโรป , เรือนแถวไม้

 

Abstract

            This article is aim to study the transformation of vernacular shophouse influencedby Chinese Architectural of Styles in Ubonratchathani commercial community. The paper will be separated in three points from past to present. First, the physical changes of shophouse focusing on its architectural quality and elements. Second, the adaptability of the usage of shophouse. Third, the types of land ownership. Thirteen units were selected as the research case studies. They can be defined into 3 groups One-story shophouse with Chinese style, One-story wooden shophouse and Three-storyshophouse with Chinese style, Chinese-Europeans style or Europeans style

            The main changing factor of this study shophouse is the urbanization of UbonRatchathani city. The transformation impacts to the physical and shophouse lifestyle of the community. They it changed the commercial community from the past. Another challenge is the building maintenance; Theshophouse cannot be renovated with original materials. The changing of ownership also effects the function and building usage. The shophouse proprietary care by building owners is complete and in the condition that maintained as well.  But often abandoned without space quite a lot. The shophouses used by the tenants often have the physical condition of extreme disrepair. But still be usable as well. The study reflects the activity and the physical condition of buildings associated with ownership.

 

Keyword :    Shophouse , Shophouse in Chinese style , Vernacular  Architecture

Article Details

Section
บทความ : ศิลปะและการออกแบบ