การศึกษาพฤติกรรมผู้จ่ายตลาดสำหรับครัวเรือนเพื่อใช้ออกแบบอุปกรณ์ขนสัมภาระ

Main Article Content

ดารณี ทิพย์สิงห์

Abstract

บทคัดย่อ

 

               บทความนี้เป็นผลการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการจ่ายตลาดจากการสัมภาษณ์ผู้จ่ายตลาด จำนวน 30 คนที่มีคุณสมบัติดังนี้ 1) เพศหญิง 2) อายุ 30 - 65 ปี 3) เป็นผู้จ่ายตลาดที่มีหน้าที่ซื้อสินค้า บริโภคเข้าครัวเรือน 4) ซื้อสินค้าสำหรับสมาชิกในครัวเรือน 4 คนขึ้นไปหรือจ่ายตลาดครั้งละไม่ต่ำกว่า 5 กิโลกรัม ผลจากการศึกษานี้จะนำไปใช้ในขั้นตอนการออกแบบอุปกรณ์ขนสัมภาระเพื่อตอบสนองพฤติกรรม ผู้จ่ายตลาดสำหรับครัวเรือน โดยผลการศึกษามีข้อมูลทั้งหมด 6 ส่วนคือ 1) สินค้าที่ผู้จ่ายตลาดซื้อ 2) สิ่งที่ผู้ จ่ายตลาดนำไปด้วย 3) การเดินทางของผู้จ่ายตลาด 4) วิธีการขนสัมภาระของผู้จ่ายตลาด 5) อุปสรรคหรือ ปัญหาที่เกิดขึ้นก่อน ระหว่างและหลังการจ่ายตลาด 6) ความคิดเห็นของผู้จ่ายตลาดที่มีต่อรถเข็นอเนกประสงค์ที่พบเห็นในปัจจุบัน และมีบทวิเคราะห์ข้อมูลที่ส่งผลต่อการออกแบบอุปกรณ์ขนสัมภาระไว้ในตอนท้ายของแต่ละส่วน

 

คำสำคัญ: พฤติกรรม, ผู้จ่ายตลาด, ตลาด, อุปกรณ์ขนสัมภาระ

 

Abstract

 This article was based on interviews with 30 grocery shoppers with the following qualifications: 1) female 2) age 30 - 65 years 3) assigned to purchase consumer goods for the household 4) the purchased goods is for four people or weight about five kilograms or more.

Such study will be applied to the process in designing carring devices for household grocery shopping. The study contains 6 different sections: 1) the type of products 2) the item that the shopper brings with her while shopping 3) Voyage between home and marketplace 4) transportation of shopper 5) difficulties happen before, during and after the shopping 6) shopper's view on the existing. This data can then be analyzed to understand the user insights, in order to determine the product attributes of the future device. The results of such analysis are located at the end of each section.

 

Keyword: Behavior, Shoppers, Grocery, Carring Devices, Market

Article Details

Section
บทความ : ศิลปะและการออกแบบ