การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างศักยภาพการเป็นผู้นำของบุคลากรรุ่นใหม่ เพื่อมุ่งสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ในธุรกิจการประกันภัย

Main Article Content

พสุธิดา ตันตราจิณ
ธีระวัฒน์ จันทึก
พิทักษ์ ศิริวงศ์

Abstract

        บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างศักยภาพการเป็นผู้นำของบุคลากรรุ่นใหม่เพื่อมุ่งสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ด้วยการประยุกต์เทคนิคการวิจัยเอกสารและการสังเคราะห์ เพื่อนำมาสรุปองค์ประกอบของการเป็นผู้นำของบุคลากรรุ่นใหม่เพื่อมุ่งสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ และกรอบการพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างศักยภาพการเป็นผู้นำของบุคลากรรุ่นใหม่เพื่อมุ่งสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ ผู้วิจัยได้กำหนดวิธีการศึกษาโดยการประยุกต์ใช้เทคนิคการวิจัยแบบอนาคต (Ethnographic Delphi Futures Research: EDFR) รอบที่ 1 และ รอบที่ 2 รวม 17 คน โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญด้านการประกันภัย การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และการจัดการ พบว่า การพัฒนาโปรแกรมดังกล่าวมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และการเรียนรู้ โดยผู้วิจัยได้นำแนวคิดเชิงระบบมาใช้ในการออกแบบและจัดทำรายละเอียดของโปรแกรมแต่ละขั้นตอน ดังนี้

         ขั้นตอนที่ 1 Input คือ การเตรียมทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มาใช้ในการออกแบบโปรแกรม คือ แนวคิดทฤษฎีปัญญาทางสังคม (Social Cognitive Theory) แนวคิดลักษณะการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ (Adult Learning Theory ) แนวคิด MAM Model ที่นำมาเป็นกรอบในการพัฒนาโปรแกรม และแนวคิดในการประเมินผลการพัฒนาโปรแกรม

         ขั้นตอนที่ 2 Process คือ การออกแบบโปรแกรมที่กำหนดออกมาในรูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพการเป็นผู้นำบุคลากรรุ่นใหม่ภายใต้แนวคิดของ m-a-m process ดังนี้ 1) การปรับกระบวนการทางความคิด (mindset) และทัศนคติ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ที่ประกอบด้วย การปฐมนิเทศ การปรับทัศนคติ และการอภิปรายร่วม 2) การสร้างความสนใจ และการมีส่วนร่วม (attention) โดยใช้การเรียนรู้ผ่าน Action Learning Activities ผ่านกระบวนการ PAIR Technique 3) การประเมิน MAM (measurement) จากรูปแบบของ Problem Base Learning ที่ประกอบด้วย การระดมสมองในการร่วมกันทำงานเป็นทีม การนำเสนอโครงการ และการวิพากษ์อย่างสร้างสรรค์ในกิจกรรมการเรียนรู้ และมีการประเมินผลประสิทธิภาพของโปรแกรมใน 4 มิติ คือ ความรู้ ทัศนคติ คุณลักษณะ และการนำไปประยุกต์ใช้

         ขั้นตอนที่ 3 Output หลังจากที่ผู้เข้าร่วมโปรแกรมเสร็จสิ้นจากโปรแกรมแล้ว จะเกิดการเรียนรู้ 3 ส่วนได้แก่ การเรียนรู้ตนเอง (Self-Learning) การเรียนรู้จากกลุ่ม (Group Learning) และการเรียนรู้องค์การ (Organization Learning) โดยใช้การพัฒนาในรูปแบบ mam to MAM

         ขั้นตอนที่ 4 Outcome การที่บุคลากรรุ่นใหม่มีความพร้อม มีศักยภาพ (Mythmaker) เพื่อนำองค์การไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้

         ขั้นตอนที่ 5 Impact : การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ที่มีความยั่งยืน

 

        This Research Paper aimed at studying the development of program for developing potential of new generation leader to learning organization with the application of technical research papers, literature synthesis the conclusion of elements for new generation leader to learning organization by studying the Ethnographic Delphi Futures Research: EDFR. Round 1 and Round 2 included 17 persons are applied with specialist in Human Resources Management and Insurance Business. The results is composed the development of program for developing potential of new generation leader to learning organization are consistency and appropriated in the objectives. Program design by systematic process as details;

          1. Input: Preparing Human Resources theory about Social Cognitive Theory, Adult Learning Theory and MAM model to applicable in development and evaluation framework.

          2. Process: Designing the program by m-a-m process that means 1) mindset: learning process including orientation and group discussion 2) attention: learning by action learning activities based on PAIR Technique –Project-Action-Intention-Report 3) measurement: on problem base learning.

          3. Output: 3 learning points when program finish: self-learning, group-learning and organization learning.

          4. Outcome: New generation with the potential leading to learning organization

          5. Impact: Sustainable Learning Organization.

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ