การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างศักยภาพความเป็นนวัตกรการศึกษา

Main Article Content

วสันต์ สุทธาวาศ
ธีระวัฒน์ จันทึก
พิทักษ์ ศิริวงศ์

Abstract

         บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษากรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีสำหรับตัวบ่งชี้คุณลักษณะและการเสริมสร้างศักยภาพความเป็นนวัตกรการศึกษา และ 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างศักยภาพความเป็นนวัตกรการศึกษา โดยมีขั้นตอนการวิจัย 2 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษากรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีของโปรแกรม ด้วยการสร้างทฤษฎีฐานราก โดยรวบรวมข้อมูลจากข้าราชการที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และมีผลงานนวัตกรรม จำนวน 17 คน และ 2) การสร้างรายละเอียดโปรแกรมเสริมสร้างศักยภาพความเป็นนวัตกรการศึกษา แบ่งได้เป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การตรวจสอบเบื้องต้นและการปรับปรุงแก้ไข โดยวิธีการจัดสนทนากลุ่ม จำนวน 10 คน ระยะที่ 2 การตรวจสอบครั้งสำคัญและการปรับปรุงแก้ไข โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกประยุกต์การถอดบทเรียน จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน และระยะที่ 3 การตรวจสอบเพื่อการยืนยันและการปรับปรุงแก้ไข ด้วยการประยุกต์ใช้เทคนิคการวิเคราะห์หาค่าดัชนีความสอดคล้องในรายละเอียดของโปรแกรม รวมถึงการสร้างแบบประเมินประสิทธิภาพโปรแกรม จำนวน 5 ชุด โดยผลการวิจัยพบว่า ตัวบ่งชี้ความเป็นนวัตกรการศึกษา เป็นคุณลักษณะสำคัญ 4 ด้าน คือ ด้านความสามารถ ด้านทักษะการค้นพบ ด้านทัศนคติ และ ด้านพฤติกรรม โดยมีรูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพเป็นการฝึกอบรมเข้ม 3 ขั้นตอน คือ 1) การเพิ่มพูนความพร้อม เป็นกิจกรรมที่เน้นเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ แรงบันดาลใจ และทัศนคติ เกี่ยวกับความเป็นนวัตกรการศึกษา 2) การประยุกต์สร้างสรรค์ โดยมีภารกิจเพื่อเสริมสร้างศักยภาพ (Task) ที่เน้นเสริมสร้างทักษะความเป็นนวัตกรการศึกษา ด้วยการจำลองสถานการณ์เกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรมจากการลงมือปฏิบัติจริง (Sim) และสอดคล้องกับการปฏิบัติงาน (Scene) และ 3) การประเมินคุณค่าเชิงนวัตกรรม เป็นกิจกรรมการประเมินและทบทวนผลการประยุกต์ใช้ความรู้สู่การปฏิบัติเชิงนวัตกรรม โดยมีการวิเคราะห์ผลของศักยภาพความเป็นนวัตกรการศึกษาตามแนวทาง ARM Model และความสัมพันธ์แบบ ARM Matrix ซึ่งจำแนกออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 “Star” อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการมีคุณลักษณะของนวัตกร (Innovator) กลุ่มที่ 2 “Fireworks” อยู่ในระดับของความเป็นนักสร้างสรรค์ (Creator) กลุ่มที่ 3 “Candle” อยู่ในระดับของผู้ปฏิบัติงาน (Administrator) และกลุ่มที่ 4 “Match” อยู่ในระดับของคนงาน (Labor) ทั้งนี้ ผลการศึกษาจะช่วยพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพในการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่มีคุณค่า เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา อันเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาศักยภาพทางการแข่งขันของประเทศในระยะยาว

 

          This Paper aimed at 1) studying the theoretical framework for this indicator, features, and empowering the innovators, educators and 2) developing a capacity building program of educational innovators. The research phase two phases: First, the theoretical framework of the program. By creating theoretical foundations by gathering information from officials with expertise. And an innovative portfolio of 17 people. Second, to create a detailed capacity building program of educational innovators into three phases: Stage 1 preliminary examination and revision by 10 people focus group. Stage 2 important review and revision by-depth interviews and applications lessons learned to get a substantial new findings from 5 experts. Stage 3 verification and revision to determine the program content validation. The issues of compliance-oriented program content. With the application of technical analysis for the IOC during the event content and the expected results in other dimensions. Given with the purpose of the program. Including the creation of a performance evaluation program of five series. The results showed that Indicators of educational innovators. It features four key areas: Talent. Discovery skills, Attitudes and Behavioral and empowerment by intensive training three phases: 1) Acquiring:  activities are focused on knowledge, attitudes and innovatorsaspirations 2) Applying: the mission (Task) focused on enhancing the skills of innovators simulations on creating innovative real action (Sim) and in line with the performance (Scene), and 3) Appraising: assessment and review of the application of knowledge to practical innovation. The analysis of the potential of the innovators of the guidelines ARM Model and its relationship with ARM Matrix, which were divided into 4 groups: group 1 "Star" in the right-to-have features of innovators. (Innovator) group 2 "Fireworks" at the level of the Creator (Creator) group 3 "Candle" at the level of the worker. (Administrator) and group 4 "Match" at the level of workers (Labor) The results of this study will help to develop the educational innovator’s potential that are leveraged the quality of Thai education and affecting to long-term competitive advantage of Country.

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ