รูปแบบการจัดการศึกษา “ห้องเรียนครอบครัว” เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

Main Article Content

ขนิษฐา พจนานุกูลกิจ
กัมปนาท บริบูรณ์
คมกฤช จันทร์ขจร

Abstract

           การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1. สร้างรูปแบบการจัดการศึกษา “ห้องเรียนครอบครัว” เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2. ประเมินรูปแบบการจัดการศึกษา “ห้องเรียนครอบครัว” เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ตอบแบบสอบถาม เพื่อสำรวจสภาพปัญหาและความต้องการในการเรียนรู้ของผู้ปกครอง จำนวน 285 คน 2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เพื่อการทดลอง จำนวน 30 คน มีขั้นตอนดังนี้ 1) ศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการของผู้ปกครอง 2) สร้างรูปแบบการจัดการศึกษา “ห้องเรียนครอบครัว” เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต 3) ประเมินรูปแบบการจัดการศึกษา “ห้องเรียนครอบครัว” เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ แบบบันทึกผลการปฏิบัติงาน หรือกิจกรรมกลุ่ม แบบสอบถามความพึงพอใจ และแบบติดตามผลการเรียนรู้หลังการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test

           ผลการวิจัยพบว่า

             1. ผลการสร้างรูปแบบการจัดการศึกษา “ห้องเรียนครอบครัว” เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผน (Planning: P) 2) การจัดกิจกรรม (Activities: A)  3) การสะท้อนความคิด (Reflection: R)  4) การประเมินผล (Evaluation: E) 5) เจตคติใหม่ (New attitudes: N) 6) การถ่ายทอดความรู้ (Transfer: T)

             2. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการศึกษา “ห้องเรียนครอบครัว” เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของผู้ปกครองหลังการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 2) ผู้ปกครองมีพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ ความกระตือรือร้น ความรับผิดชอบการให้ความร่วมมือ การแสดงความคิดเห็น การตอบคำถาม ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือร้อยละ 80 ขึ้นไป 3) ผู้ปกครองมีการบันทึกผลการปฏิบัติงาน หรือกิจกรรมกลุ่ม ได้แก่ การวางแผน การปฏิบัติงานตามขั้นตอน ความร่วมมือกัน การตรงต่อเวลา การรายงานผล มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าร้อยละ 80 ขึ้นไป 4) ผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด 5) การติดตามผลการเรียนรู้หลังการเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด

 

          The purpose of this research was the creation and evaluation the model for “Parent Education Class" to promote lifelong learning. The instrument used in this study were questionnaires for representative sample consisted of two hundred eighty five people and sample groups comprised of thirty people. This study is focused on the following three points: 1) to study the problems and the needs of parents. 2) to create a model for Parent Education Class with the purpose of promoting lifelong learning. 3) to evaluate this model. The instruments used in this study consisted of a questionnaire, the pretest and posttest, the observed behavior of the participants, a record result form on group activities, the satisfaction questionnaire, and the follow-up study. The statistics used for the data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, and t-test.

          The research findings were as follows:

             1. PARENT MODEL consists of six steps: 1) Planning, 2) Activities, 3) Reflection, 4) Evaluation, 5) New attitudes and 6) Transfer.

             2. The results of the evaluation of the model for “Parent Education Class" to promote lifelong learning.  1) The results between the pretest and posttest were at .05 level of statistical significance. 2) The parents passed all of the participation criteria: enthusiasm, responsibility, cooperation, expression of opinions, and responses to queries in the behavior observation form, obtaining at least eighty percent from the total score. 3) The parents also obtained at least eighty percent of the total score in all criteria for group activity performances, specifically planning, step-by-step execution, cooperation, punctuality, and reporting results. 4) The parents were also satisfied with the model for “Parent Education Class" to promote lifelong learning at the highest level. 5) As for follow-up study, at in the highest level.

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ