การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของนักศึกษาครู ในการจัดการเรียนรู้บูรณาการอาเซียนศึกษา

Main Article Content

เพ็ญผกา หนองนา
ธีรชัย เนตรถนอมศักดิ์

Abstract

        การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตรรายวิชาและศึกษาผลของหลักสูตรรายวิชาเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของนักศึกษาครูในการจัดการเรียนรู้บูรณาการอาเซียนศึกษา ซึ่งแบ่งตามระยะของการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ระยะที่ 1การวิเคราะห์องค์ประกอบของการเสริมสร้างขีดความสามารถในการจัดการเรียนรู้ โดยทำการวิเคราะห์องค์ประกอบของการเสริมสร้างขีดความสามารถในการจัดการเรียนรู้กับกลุ่มตัวอย่าง 195 คน ที่เป็นอาจารย์ผู้สอนในระดับอุดมศึกษา สาขาวิชาสังคมศึกษา ระยะที่ 2 การสร้างและพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของนักศึกษาครูในการจัดการเรียนรู้บูรณาการอาเซียนศึกษา โดยการยกร่างหลักสูตรรายวิชาเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของนักศึกษาครูในการจัดการเรียนรู้บูรณาการอาเซียนศึกษา และตรวจสอบร่างหลักสูตรรายวิชาโดยใช้ผู้เชี่ยวชาญ และระยะที่ 3 การศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรรายวิชาเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของนักศึกษาครูในการจัดการเรียนรู้บูรณาการอาเซียนศึกษากับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 28 คน ซึ่งเป็นนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ชั้นปีที่ 4 ตามแบบแผนการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียวและวัดหลังการทดลอง(The One Group Posttest Only Design)

          ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

          1.  การวิเคราะห์องค์ประกอบของการเสริมสร้างขีดความสามารถในการจัดการเรียนรู้ ได้ผลดังนี้

               1.1  สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการเสริมสร้างขีดความสามารถในการจัดการเรียนรู้ เป็นการสร้างกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับองค์ประกอบของการเสริมสร้างขีดความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาครู เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์องค์ประกอบ สรุปได้ว่า องค์ประกอบของการเสริมสร้างขีดความสามารถในการจัดการเรียนรู้ มี 4 องค์ประกอบ 10 ตัวชี้วัดหลัก และ 51 ข้อคำถาม

 

                   1.2  สรุปผลการยืนยันองค์ประกอบของการเสริมสร้างขีดความสามารถในการจัดการเรียนรู้ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบลำดับที่ 2 (Second-order factor analysis) ของการวัดขีดความสามารถในการจัดการเรียนรู้ ผลการยืนยันทั้ง 4 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 ด้านความรู้ องค์ประกอบที่ 2 ด้านทักษะ องค์ประกอบที่ 3 ด้านคุณลักษณะ และองค์ประกอบที่ 4 ด้านการรู้เท่าทันแหล่งฝึกประสบการณ์ มีค่าน้ำหนักขององค์ประกอบ (Factor Loading) เท่ากับ 0.95, 0.99, 0.85 และ 0.88 ตามลำดับ และมีค่า R2 เท่ากับ 0.91, 0.97, 0.73 และ 0.77 ตามลำดับ

           2.  หลักสูตรรายวิชาการจัดการเรียนรู้บูรณาการอาเซียนศึกษา สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาสังคมศึกษา มี 7 องค์ประกอบ คือ หลักการและเหตุผล ปรัชญา และแนวคิด จุดมุ่งหมายของหลักสูตร โครงสร้าง/ ขอบข่ายของการเสริมสร้างขีดความสามารถ แนวทางการจัดการเรียนรู้ สื่อและแหล่งเรียนรู้ แนวทางการวัดและประเมินผล แผนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 10 แผนการจัดการเรียนรู้ ใช้เวลาทั้งสิ้น 45 ชั่วโมง มีขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้ที่สังเคราะห์ขึ้นจากข้อมูลที่ได้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 นึกย้อน สะท้อนสิ่งที่ทำได้ ขั้นที่ 2 เรียนรู้สิ่งใหม่ ใส่ใจการเปลี่ยนแปลง ขั้นที่ 3 เสริมสร้างและปรับแต่ง ขั้นที่ 4 พลิกแพลงสู่การพัฒนา ขั้นที่ 5 ใคร่ครวญคุณค่าความเป็นครู และส่วนสุดท้ายคือ แผนการวัดและประเมินผล เป็นการประเมินผลตามจุดประสงค์การเรียนรู้ในแต่ละแผน และการประเมินผลในส่วนของคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และผลการตรวจสอบความสอดคล้อง เหมาะสม และความเป็นไปได้ของหลักสูตร จากผู้เชี่ยวชาญที่เสนอแนะด้านภาษา ข้อความ และจุดเน้นของหลักสูตร โดยให้แก้ไขและนำไปใช้ได้

           3. ผลการศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรรายวิชาเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของนักศึกษาครูในการจัดการเรียนรู้บูรณาการอาเซียนศึกษา พบว่า ในภาพรวมนักศึกษาได้คะแนนเฉลี่ยรวมทุกรายการของการประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้บูรณาการอาเซียนศึกษาในครั้งนี้เท่ากับ 41.57 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายบุคคลแล้วพบว่า มีจำนวนคนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 71.43 และจำนวนผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 28.57 ส่วนผลจากการประเมินคิดเทียบกับระดับคุณภาพของผู้ที่มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 แต่ละระดับคุณภาพ พบว่า ระดับเหรียญทอง มีจำนวน 2 คน ระดับเหรียญเงิน จำนวน 9 คน และ ระดับเหรียญทองแดง จำนวน 9 คน สำหรับผลการสะท้อนคิดของนักศึกษาในแต่ละองค์ประกอบ แสดงให้เห็นว่า นักศึกษาสามารถประเมินตนเองได้ มีความรู้ ความสามารถมีจุดเด่นหรือจุดที่ควรพัฒนาอย่างไรบ้าง และการสะท้อนจุดเด่นของหลักสูตรคือ อยากให้บรรจุลงในรายวิชาของสาขาวิชาด้วยมีจุดเด่นหรือจุดที่ควรพัฒนาอย่างไรบ้าง และการสะท้อนจุดเด่นของหลักสูตรคือ อยากให้บรรจุลงในรายวิชาของสาขาวิชาด้วย

 

          This research aimed to develop courses and examine results of course for capacity building of student teachers towards the integration of ASEAN study learning management. The paper was divided into three stages. The first stage was to analyze factor of capacity building towards the integration of ASEAN study learning management. It was conducted with 195 samples who were Social Study Lecturer in higher education. The second stage was to generate and develop the courses for capacity building of student teachers in the integration of ASEAN study learning management. The courses were drafted for capacity building of student teachers in the integration of ASEAN study learning management and investigated by experts. The third stage was to explore the effectiveness of courses for capacity building of student teachers in the integration of ASEAN study learning management. Regarding the one group posttest only design, it was conducted with 28 samples who were the fourth-year students in Social Study Major, Faculty of Education, Khon Kaen University.

             The results as follows.

              1.  The analysis of factors of capacity building in learning management consisted of two steps below.

                     1.1  The summary of findings and analysis of fundamental data on capacity building in learning management showed that the first process was to create a theoretical framework related to the factors of capacity building in learning management of teacher students. This led to the factor analysis. It could be concluded that there were four factors, ten principal indicators, and fifty-one questions.

                     1.2  The summary of confirmation on four factors of capacity building in learning management illustrated the second-order factor analysis on capacity building measurement in learning management towards the integration of ASEAN study. These four factors were as follows; the first factor – knowledge; the second factor – skill; the third factor – skill; and the fourth factor – literacy of source of experience training. The factor loadings were 0.95, 0.99, 0.85 and 0.88, respectively. The R2 values were 0.91, 0.97, 0.73, and 0.77, severally.

               2.  Regarding the courses for the integration of ASEAN study learning management, there were 7 elements including principle and rationale, philosophy and concept, objective of courses, structure/framework of potential development, management method of media learning and learning source, measurement and evaluation method, ten learning management plans developed by the researcher for 45 hours. The learning management procedure was synthesized from the data obtained from the confirmatory factor analysis including 5 steps; the first step – recalling what could be done; the second step – learning new things and paying attention to change; the third step – enhancing and adjusting; the fourth step – adapting towards development; and the fifth step – considering the value of being teacher. The last part was associated with the measurement and evaluation plan.  It comprised of direct evaluation measured by the learning objectives in each plan, and indirect evaluation measured by desirable attributes. To the examination of consistency, suitability, and feasibility of curriculum, the experts concluded that it was adjustable and practical.

           3.  According to the effectiveness of courses for capacity building of student teachers towards the integration of ASEAN study learning management, it found that the average score towards the evaluation towards the integration of ASEAN study learning management of student teachers was at 41.57 which passed the defined criteria. When considering individually, however, 20 samples or 71.43 percent could pass the 80-percent criteria meanwhile 8 samples or 28.57 percent could not.  Regarding the evaluation results compared to each level of quality, it represented that there were 2 samples achieving gold medal, 9 samples achieving silver medal, and 9 samples achieving bronze medal. To the opinion of student teachers towards each element, it illustrated that they were able to evaluate their knowledge and their strengths/weaknesses. Moreover, the outstanding point of curriculum was reflected as they would like it to be contained as one of the major’s courses.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ