บทบาททศกัณฐ์ : กรณีศึกษา กระบวนท่ารำและกลวิธีการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ตอนท้าวมาลีวราชว่าความ ตามแนวทางของนายจตุพร รัตนวราหะ

Main Article Content

วัลลภ พุ่มระชัฎร์
ชนัย วรรณะลี
นิวัฒน์ สุขประเสริฐ

Abstract

          งานวิจัยฉบับนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์บทบาททศกัณฐ์ในเรื่องรามเกียรติ์จากวรรณกรรมต่างๆ และวิเคราะห์แนวทาง รูปแบบ องค์ประกอบการแสดงบทบาททศกัณฐ์ จากบทละครเรื่องรามเกียรติ์ตอนท้าวมาลีวราชว่าความและวิเคราะห์กระบวนท่ารำ กลวิธีการแสดงของทศกัณฐ์ในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ตอน ท้าวมาลีวราชว่าความ โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษารวบรวมข้อมูลจากเอกสารตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ฝึกปฏิบัติกระบวนท่ารำบทบาททศกัณฐ์ ตอนท้าวมาลีวราชว่าความและจัดประชุมสนทนากลุ่มย่อย (Focus group)

          ผลการศึกษาพบว่า วรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์มีที่มาจากรามายณะของอินเดีย มีหลักฐานปรากฎทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยอาณาจักรทวารวดี คนไทยเริ่มรู้จักเรื่องรามเกียรติ์ในสมัยกรุงสุโขทัยโดยเล่าสืบทอดทางวรรณกรรมมุขปาฐะและปรากฎเป็นวรรณกรรมลายลักษณ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ รวมทั้งปรากฏบทบาททศกัณฐ์ซึ่งหมายถึง การแสดงพฤติกรรมหรือหน้าที่ความรับผิดชอบของทศกัณฐ์ที่ปรากฏในบทพระราชนิพนธ์และบทโขนเรื่องรามเกียรติ์ในสถานการณ์ต่างๆอันสะท้อนให้เห็นถึงแนวทางของกวีผู้แต่งหรือนักปราชญ์แต่ละยุคสมัย ทำให้เรื่องรามเกียรติ์เป็นที่นิยมอย่างยิ่งและสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

          การศึกษาแนวทาง รูปแบบและองค์ประกอบการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอนท้าวมาลีวราชว่าความ จากบทโขนของกรมศิลปากร พบว่า ทศกัณฐ์มีบทบาทของกษัตริย์นักวางแผนในกลศึก บทบาทของกษัตริย์ผู้ปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณี บทบาทเล่ห์เหลี่ยมกลโกงและบทบาทการขาดสติไตร่ตรอง ส่วนรูปแบบการแสดงกำหนดเป็นการแสดงพฤติกรรม การแสดงอารมณ์ที่มีความเชื่อมโยงและสัมพันธ์ต่อกันจากการศึกษากระบวนท่ารำและกลวิธีการแสดงบทบาททศกัณฐ์ ตอนท้าวมาลีวราชว่าความ ตามแนวทางของนายจตุพร  รัตนวราหะ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์-โขน) ปีพุทธศักราช 2552 พบว่า กลวิธีการแสดงบทบาททศกัณฐ์แสดงถึงความสง่างาม ภูมิฐานและมีบุคลิกที่กระฉับกระเฉงคล่องแคล่วว่องไว มีการใช้ท่าทาง การตีบทใช้บท โดยเคลื่อนไหวอวัยวะทุกส่วนของร่างกายอย่างสัมพันธ์กันรวมทั้งลักษณะการแสดงอารมณ์ที่เกินจริง เพื่อให้ผู้ชมเกิดการคล้อยตาม นอกจากนี้พบว่า นายจตุพร รัตนวราหะ เป็นบุคคลที่ศึกษาเรื่องราว บทการแสดงและสามารถตีความหมาย รวมทั้งสื่อให้เห็นในรูปแบบของกระบวนท่ารำ อันมีความสอดคล้องและสัมพันธ์กับบทออกมาได้อย่างชัดเจน นับเป็นองค์ความรู้ที่ก่อให้เกิดคุณค่าแก่วงการนาฏศิลป์ไทย ตลอดจนการดำรงรักษาศิลปวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติ ให้คงอยู่ตลอดไป

 

          The Objective of this thesis was to analyze the role of Thotsakan in the Rammakien in other literary . To analyze process  pattern and configuration characteristic and to analyze dance pattern and strategy the role of Thotsakan of Khon performance  in the Rammakien  episode of the judgement of Tao Malivaraj. This study used  qualitative  research method : gathered information from text books and related research, interviewed experts , practice dance postures the role of Thotsakan  in episode of the judgement of Tao Malivaraj  and focus group.

           The findings were that Rammakien  is a literature from the Ramayana of India. The historical evidence was found since dvaravati.  Thai People started to recognize the Ramayana in Sukhothai period   by  verbal literary  and  written literary  in the Ayutthaya ,Thonburi  and Rattanakosin. Including the role of Thotsakan in various situations that reflects the approach of the author, poet or philosopher in each period. The story of Ramayana is particularly popular and literary heritage to the present day.

           The study process pattern and configuration characteristic of Khon erformance  of Fine Arts Department found that the role of Thotsakan is the king as trick war who follow traditions, trickery role and  thoughtless role. Display style is defined as behavior. The emotions are linked and related to each other.

           The study dance pattern and strategy the role of Thotsakan of Khon Performance in the Rammakien  episode of the judgement of Tao Malivaraj according to guideline Mr. Chatuphorn Ruttanawaraha  national artists in performing arts (Thai Drama -Khon)in 2552 . Found that strategy the role of Thotsakan is elegant  dignified and energetic. The gestures  used  the movement  of every parts of the body to be  relate  to. Including the acting of exaggerated emotions make the audiences conformable. Moreover found that Mr Chatuphorn Ruttanawaraha also studies the role of performance and can interpret and describes the process in the form of dance that is explicitly conformable and relating . This knowledge  is value of Thai performing Arts. As well as preserve the unique  arts and culture of the nation to remain forever.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ