การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดบริการสาธารณะด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อการท่องเที่ยว เชิงนิเวศขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม

Main Article Content

ศิริพร รักษ์เจริญ

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดบริการสาธารณะด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม และเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดบริการสาธารณะด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสัมภาษณ์ ที่มีลักษณะเป็นทางการ เป็นการสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง โดยกำหนดประเด็นคำถามในการสัมภาษณ์ และการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 11 คน และการสนทนากลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 15 คน

          ผลการศึกษาพบว่า 1)กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่วมค้นหาปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเกิดจากการร่วมรับรู้ปัญหาและได้รับผลกระทบจากความเสื่อมโทรมของพื้นที่ ป่าชายเลน ในส่วนของด้านการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเป็นการร่วมกันคิดที่จะพัฒนาการใช้ประโยชน์จากการกลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้งของทรัพยากรป่าชายเลน เป็นความเชื่อมโยงที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ป่าชายเลนขึ้น 2) กระบวนการมีส่วนร่วมในการวางแผนด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรวมถึงด้านการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มีลักษณะของการมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนดำเนินกิจกรรมร่วมกันโดยใช้ทักษะความชำนาญได้เข้ามานำเสนอ ในด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นไปเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหา แต่ด้านการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเป็นไปเพื่อดำเนินการพัฒนา ส่วนการวางแผนด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นไปในรูปแบบของการแก้ไขปัญหา และการร่วมกันวางแผนด้านการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นการร่วมกันวางแผนเพื่อการพัฒนาและนำทุนทางธรรมชาติไปใช้ให้เกิดประโยชน์ 3) กระบวนการมีส่วนร่วมใน  การดำเนินการ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรวมถึงด้านการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศประชาชนเข้าร่วมในกิจกรรมตามที่ได้แบ่งหน้าที่กันตามความถนัดที่ได้ร่วมกันวางแผนไว้เป็นการระดมทรัพยากรที่มีในท้องถิ่น 4) กระบวนการมีส่วนร่วมในการติดตามผลทั้งแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการส่วนด้านการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเป็นการติดตามผลแบบไม่เป็นทางการ 5) กระบวนการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรวมถึงด้านการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอยู่ในรูปแบบของประโยชน์ที่ได้รับโดยตรงและได้รับทางอ้อมในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ประโยชน์ที่ได้รับโดยตรงเป็นเรื่องรายได้และการประกอบอาชีพที่เพิ่มขึ้น ส่วนประโยชน์ทางอ้อมเป็นเรื่องของการกลับมาถิ่นฐานบ้านเกิดของกลุ่มแรงงาน อีกทั้งยังเป็นการสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จักของบุคคลภายนอกท้องถิ่นเกี่ยวกับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ รวมถึงแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนแบ่งออกเป็น 2 มิติ คือมิติด้านผู้นำท้องถิ่น/ชุมชน และมิติของด้านประชาชน

 

           This research was conducted to study the People’s Participation in Management of Public Services, Natural Resource, and Environmental Management of Ecological Tourism in the Sub-District Administrative Organization of Klongkone, Muang District, Samutsongkram Province and to suggest solutions to the people’ problems in participating in the management of natural resource and the environment for Ecological Tourism.This qualitative research was conducted by using in-depth interview (11 key informants) and  focused group interview (15 key informants) for collecting the information from the participants.

            The study result showed that 1. Processes of People’s Participation in finding problems in management of the natural resources and environment start form problem awareness and impacted on the mangrove forest area. In terms of Management of Ecological Tourism, there are cooperative ideas for development, using benefits from restoration of natural resources in the mangrove forest.2. Participation Processes in the Natural Resources and Environmental Planning, and Management of Ecological Tourism were a type of cooperative planning for activities by using special skill in Natural resources and Environment for solving problems. 3. For the Participation Processes in Natural Resource, Environment, and Management of Ecological tourism, people in these activities were allocated different responsibilities, based on specific skills followed by plans of collecting local natural resources. 4. Follow up Results of the participation processes showed that participation was both informal and formal where the management of the Ecological Tourism was only informal. 5. The benefits from the participation processes in the management of Ecological Tourism were in forms of economic, societal, and environmental and were direct and indirect benefits, these included the development of the communities’ leaders and the general public.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ