การพัฒนาความสามารถในการแต่งกลอนสุภาพ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับแบบฝึก

Main Article Content

สุรัตน์ คำหอมรื่น

Abstract

         การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแต่งกลอนสุภาพของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่  6 ก่อนและหลังการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคCIRC ร่วมกับแบบฝึกและเพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับแบบฝึก กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนวัดไผ่โรงวัว จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 26 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย(Simple Random Sampling) ใช้เวลาจัดการเรียนรู้จำนวน 3 สัปดาห์ รวม 11 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่องการแต่งกลอนสุภาพด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRCร่วมกับแบบฝึก แบบฝึก แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านการแต่งกลอนสุภาพ และ แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับแบบฝึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (  ̅x) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test  dependent)

          ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการแต่งกลอนสุภาพของนักเรียน มีค่าเฉลี่ย ของคะแนนหลังการเรียนรู้สูงกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และในด้านความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนรู้เรื่องการแต่งกลอนสุภาพด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค  CIRC ร่วมกับแบบฝึกนั้นพบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับเห็นด้วยมากทั้งในด้านบรรยากาศการจัดการเรียนรู้ และด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

 

          The purposes of this research were : to compare the poetic writing ability of the Grade 6 students taught by using the CIRC technique with exercises, and to study the Grade 6 students’ opinion about using the CIRC technique with exercises. The samples were 26 Grade 6 students from Wat Pai Rong Wua school, Suphanburi province in second semester of the academic year 2015. They were selected by simple random sampling. The instruction was conducted by the researcher for 11 hours. The research instruments were : lesson plan by using the CIRC technique with exercises, exercises, poetry writing ability test and questionnaires of students’ opinion toward using the CIRC technique with exercises. The statistical analysis were mean, standard deviation and t-test dependent.

             The results of this research were: The poetic writing ability of Grade 6 students taught by using the CIRC technique with exercises was higher at 0.05 level of significant after the using the CIRC technique and The students’ opinion toward using the CIRC technique with exercises was positively in high agreement level in all aspects, both the learning environment and leaning activities aspects.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ