การพัฒนารูปแบบการสอนกลยุทธ์การเรียนภาษาต่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างความสามารถ ในการฟัง-พูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี

Main Article Content

ธนกร สุวรรณพฤฒิ
เสงี่ยม โตรัตน์

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความจำเป็นของนักศึกษาด้านความสามารถในการฟัง-พูดภาษาอังกฤษ และความรู้อาเซียน 2) พัฒนาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนกลยุทธ์การเรียนภาษาต่างประเทศ ให้ได้ตามเกณฑ์ 75/75 และ 3) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการสอนกลยุทธ์การเรียนภาษาต่างประเทศ กลุ่มตัวอย่างการวิจัย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2558 จำนวน 30 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามความจำเป็นของผู้เรียน 2) บทเรียนและสื่อการสอน ใช้ทดลองสอน 40 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบความสามารถในการฟัง-พูดภาษาอังกฤษ 4) แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับอาเซียน และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าร้อยละ และค่า t (Dependent t-test)

           ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามีความจำเป็นต้องพัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษ และความรู้อาเซียน ในระดับปานกลาง 2) รูปแบบการสอนมีประสิทธิภาพอยู่ในเกณฑ์ระดับดี มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 76.79/78.40 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 75/75 และ 3) รูปแบบการสอนมีประสิทธิผล คือ ความสามารถในการฟัง-พูดภาษาอังกฤษ และความรู้เกี่ยวกับอาเซียนของนักศึกษา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และนักศึกษามีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนอยู่ในระดับมาก

 

          The purposes of this research were to 1) investigate learners’ needs including listening-speaking abilities and ASEAN knowledge 2) develop a foreign language learning strategy instructional model to meet the efficiency criteria of E1/E2 (75/75) and 3) investigate the effectiveness of the instructional model. The sample was 30 undergraduate students enrolled in class of 2015, English major, Faculty of Education, Bansomdejchaopraya Rajabhat University. The instructional model was tested for 40 hours. Research instruments were 1) learner needs questionnaire 2) listening-speaking coursebook 3) listening-speaking test 4) ASEAN knowledge quizzes and 5) satisfaction questionnaire. Mean, standard deviation, percentage, and dependent t-test were used to analyze data.

 

           Research results revealed that 1) the learners’ needs were at medium level 2) the instructional model reached the efficiency E1/E2 at 76.79/78.40, higher than the established requirement of 75/75 and 3) after implementation of the instructional model, the average scores of listening-speaking abilities and ASEAN knowledge in posttest scores were higher than pretest scores at the significance level of 0.05, and the overall student satisfaction towards the instructional model was at high level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ