การสอนคติชนวิทยากับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียนและ การเสริมสร้างความภูมิใจในภูมิปัญญาไทย

Main Article Content

ชลธิชา หอมฟุ้ง
สมพร ร่วมสุข

Abstract

          คติชนวิทยาเป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิถีชีวิต เช่น ความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรม ฯลฯ ของคนทุกชนชั้นในสังคม วิธีสอนคติชนวิทยาที่จะทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจวิถีชีวิตของกลุ่มชนหรือชาวบ้านที่ศึกษาได้อย่างแท้จริงก็คือการนำผู้เรียนลงเก็บข้อมูลสนาม อันจะทำให้ผู้เรียนได้เกิดการพัฒนาตนเองอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ พัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ ทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการทำงานร่วมกัน ทักษะการสื่อสาร ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ทักษะอาชีพและทักษะการใช้ชีวิต และทักษะการใช้ชีวิตในวัฒนธรรมข้ามชาติ และยังได้พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม นอกจากนี้สิ่งสำคัญคือผู้เรียนจะเกิดความสำนึกรักและภาคภูมิใจในภูมิปัญญาของบรรพชนมากยิ่งขึ้น

 

          Folklore is a subject associated with folklife, , belief, custom, culture of groups of people. The method of teaching folklore that encourage learners to understand about the folklife truly is a fieldwork method. The fieldwork method can encourage learners to develop their all-round ways, especially develop the 21st century skills which include Reading, Writing, Numeracy, Reasoning, Creativity, Problem Solving Skills, Critical Thinking Skills, Collaborative Skills, Communicative Skills, Computing Skills, Career and life Skills, Cross-Cultural Skills and Ethics. In addition, the importance of folklore is that it would urge the learners more likely perceive the love and pride in the wisdom of our ancestors. 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ