การพัฒนาทักษะชีวิต เรื่อง การพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน

Main Article Content

พรพนา รัตนพงษ์ไชย

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะชีวิต เรื่อง การพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การจัด การเรียนรู้แบบโครงงาน2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน 3) ศึกษาความสามารถในการทำโครงงาน เรื่อง การพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนปัญญาวรคุณ จำนวน 42 คน

          เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1)  แผนหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง การพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน 2) แบบวัดทักษะชีวิตก่อนและหลัง การจัดการเรียนรู้ เรื่อง การพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4) แบบประเมินความสามารถในการทำโครงงาน 5) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ̅x ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า

            1.ทักษะชีวิต เรื่อง การพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

            2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

            3. ความสามารถในการทำโครงงาน เรื่อง การพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

            4. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

 

          The purposes of this research were to: 1) compare the life skills on local development according to the principle of sufficiency economy of Matthayomsuksa 3 students before and after using project approach. 2) compare the learning achievement on local development according to the principle of sufficiency economy of Matthayomsuksa 3 students before and after using project approach. 3) study the project approach ability on local development according to the principle of sufficiency economy ofMatthayomsuksa 3 students. 4) study the opinion of Matthayomsuksa 3 students toward learning mangement. The sample of this research consisted of 42 Matthayomsuksa 3/1 students studying in the seconds semester during the academic year 2015 in Panyaworakun School.

          The instruments were: 1) lesson plans 2) a life skills measurement tool 3) a learning achievement test 4) the evaluation form toward project approach ability and 5) a questionnaire on the opinion of students toward the project approach. The collected data was analyzed by mean ( ̅x ) standard deviation (S.D.) t-test for dependent sample and content analysis.

          The finding were as follows:

             1) The life skills of students on local development according to the principle of sufficiency economy gained after using project approach was higher than before learning at the level of .05 significance.

             2) The learning achievement of students on local development according to the principle of sufficiency economy gained after using project approach was higher than before learning at the level of .05 significance.

             3) The project approach ability on local development according to the principle of sufficiency economy of Matthayomsuksa 3 students were at the high level.

             4) The opinions of Matthayomsuksa 3 students toward the learning management using project approach were at the high level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ