ปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

ปารมี พัฒนดุล
วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมต่างกันตามลักษณะส่วนบุคคล  2) ศึกษาความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมส่งผลทางบวกต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม 3) ศึกษาทัศนคติการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมส่งผลทางบวกต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริโภคในอำเภอปากเกร็ด  จังหวัดนนทบุรี จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา จำนวนร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์

           ผลการวิจัยพบว่าผู้บริโภคในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ที่มีลักษณะส่วนบุคคลแตกต่างกันไม่มีผลต่อการตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม  

           ในด้านความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญกับการตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมในระดับสูง โดยภาพรวมของกลุ่มตัวอย่างรู้ว่าผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นเพื่อปลุกจิตสำนึกในการร่วมรักษาสิ่งแวดล้อมของประชาชน เป็นผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในประเภทเดียวกัน เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากวัตถุดิบที่สามารถนำมาหมุนเวียนใช้ใหม่ได้ ปล่อยสารเคมีหรือกากพิษน้อยกว่าผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในประเภทเดียวกัน และไม่ใช้สารประกอบ CFC ที่ก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจกในทุกกระบวนการผลิต ในด้านทัศนคติมีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญกับการตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีทัศนคติการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง โดยภาพรวมของกลุ่มตัวอย่างมีความคิดว่าการใช้กล่องข้าวใส่อาหารแทนกล่องโฟมเป็นการช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างง่ายๆ ที่ทุกคนสามารถทำได้ อยู่ในระดับสูงที่สุด การเลือกใช้ถุงผ้าหรือตะกร้าแทนถุงพลาสติกจะช่วยลดปริมาณขยะได้ และควรเปิดเครื่องปรับอากาศเท่าที่จะเป็น เพราะเป็นการลดภาวะโลกร้อนได้ ในด้านความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยภาพรวมของกลุ่มตัวอย่างมีความตั้งใจจะซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ความตั้งใจซื้อสินค้าบรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายได้ และไร้สารพิษตกค้าง ความตั้งใจจะซื้อผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากธรรมชาติไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

            ผลจากการวิจัยนี้จะทำให้ทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องนำไปเป็นข้อมูล เพื่อหาช่องทางเผยแพร่ความรู้ให้กับประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร เพื่อสร้างความตระหนัก ปลูกจิตสำนึก และเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ผ่านการเลือกซื้อเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น 

 

           The purposes of this research were threefold: 1) to study the relation of personal characteristics and purchase intention of Eco-Products 2)  to study the effects of the knowledge among consumers that create a positive impact on intention to purchase                      Eco-Products, and 3) to study the effects of the attitude of environmental conservation that enforce a positive impact on intention to purchase Eco-Products. The population samples of this study were 400 consumers in Pak Kret area, Nonthaburi Province. Questionnaire was used as a tool to collect data.  In data analysis, the qualitative method, the value of percentage, the value of frequency, standard variation, and correlation coefficient were applied.

           The results are follows. The majority of 400 consumers in Pak Kret area, Nonthaburi Province with different personal characteristics showed no different purchase intention of  Eco-Products.

            On the aspect of knowledge about Eco-Products, the study result revealed the positive relation to the  purchase intention of Eco-Products. The majority of the sample group had gained knowledge relating Eco-Products at the high level. Overall, the sample group knew that the Eco-Products were produced to create awareness among people to participate in environmental conservation. They knew that Eco-Products produced from recyclable materials which released less harmful chemicals and less toxic waste to the environment when compared to other products in the same range. And there was no use of CFCs substances that contribute to the greenhouse effects at each stage of production process. For the factor of the attitude, the study showed the significant positive relation to the purchase intention of Eco-Products. The attitude towards environmental conservation among the sample group was at the high level. Overall, the sample group highly believed that everyone could do his part to help saving environment by using the reusable tableware instead of Styrofoam lunch boxes. The sample group realized that using cloth reusable bags and baskets for shopping instead of plastic bags could reduce the amount of trash.  Moreover, air conditioners were something to be turn on only when necessary since this could reduce global warming. The highest level of the intention to purchase Eco-Products among the sample group included: 1) The overall sample group had an intention to buy the electrical appliances with the label of the highest energy saving efficiency guarantee called “Energy Label No.5” according to Thai Industrial Standard. 2) They intended to buy products with biodegradable packaging that do not released toxic substances. 3) They also had the purchase intention of environmentally-safe products which made from natural materials. 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ