การเปรียบเทียบผลการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรูปแบบฝึกทักษะและรูปแบบ เกมการสอน เรื่อง การบวกลบ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

อาลิตา กาญจน์วราธร

Abstract

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรูปแบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวก ลบ  2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรูปแบบเกมการสอน เรื่อง การบวก ลบ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรูปแบบฝึกทักษะและรูปแบบเกมการสอน เรื่อง การบวก ลบ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรูปแบบฝึกทักษะและบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรูปแบบเกมการสอน  เรื่อง การบวก ลบ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple  Random  Sampling) คือ โรงเรียนวัดชาวเหนือ จำนวน 60 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน

            เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 2) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรูปแบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวก ลบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรูปแบบเกมการสอน เรื่อง การบวก ลบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  4) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การบวก ลบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  5) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบวก ลบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบอิสระ(Dependent) และไม่อิสระ (Independent)

             ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรูปแบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวก ลบ หลังเรียน ( ̅x =25.27, S.D=1.50) สูงกว่าก่อนเรียน ( ̅x =16.30 , S.D =1.77) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรูปแบบเกมการสอน เรื่อง การบวก ลบ หลังเรียน (  ̅x=22.80 , S.D=2.28)สูงกว่าก่อนเรียน ( ̅x =15.50 , S.D=2.56) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรูปแบบฝึกทักษะและนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรูปแบบเกมการสอนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่.01  4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรูปแบบฝึกทักษะ เรื่อง การบวก ลบ อยู่ในระดับมาก (  ̅x=4.43 , S.D = 0.70) และ ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรูปเกมการสอน เรื่อง การบวก ลบ ความ พึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (  ̅x=4.56 , S.D = 0.63)  

 

            The purposes of this research were to :  1) compare the before and after difference of the Prathomsuksa 4 student achievement after using The Computer Assisted Instruction with drill and practice 2) compare the before and after difference of the Prathomsuksa 4 student achievement after using The Computer Assisted Instruction game 3) compare the before and after difference of the Prathomsuksa 4 after using The Computer Assisted Instruction with drill and practice and Instructional game  4) study the student satisfaction toward The Computer Assisted Instruction with drill and practice and Instruction game

             The instruments used in this research were :  1) course outline on The Computer Assisted Instruction 2) Computer Assisted Instruction with drill and practice on addition and subtraction number for Prathomsuksa 4 student  3) Computer Assisted Instructional game on addition and subtraction number for Prathomsuksa 4 student  4) Prathomsuksa 4 student satisfaction survey on The Computer Assisted Instruction

      The results of this research were as follows :  1) The posttest achievement scores (  ̅x=25.27, S.D=1.50) after using The Computer Assisted Instruction with drill and practice was higher than pretest scores ( ̅x =16.30 , S.D =1.77) at the level of .01  2) The posttest achievement scores ( ̅x =22.80 , S.D=2.28) after using The Computer Assisted Instructional game was higher than pretest scores (  ̅x =15.50 , S.D=2.56) at the level of .01   3) The posttest achievement scores after using The Computer Assisted Instruction with drill and practice and Instructional game was different at the level of .01   4) The satisfaction of the students with The Computer Assisted Instruction with drill and practice were at a high level (  ̅x= 4.43,S.D = 0.70) and Instructional game were at the most level ( ̅x = 4.56,S.D = 0.63)         

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ