การศึกษาจิตรกรรมศิลปะนามธรรมโลกตะวันนออกที่มีแรงบันดาลใจจากธรรมชาติ สะท้อนปรัชญาความงามและความจริง ในแบบ “อัตวิสัย”

Main Article Content

อัจจิมา เจริญจิตร ตนานนท์

Abstract

            จากตอนหนึ่งในหนังสือจิตรกรรมขั้นสูงของศาสตราจารย์อิทธิพลได้กล่าวถึงการแลกเปลี่ยนทางศิลปะระหว่างสองฝ่ายที่ประมวลถึงความเชื่อปรัขญาที่แตกต่างกันอย่างสุดขั้วว่า “ฝ่ายโลกตะวันตกมองความงามและความจริง มีอยู่ในโลกภายนอกตามที่ตามองเห็น ในแบบ “ภาวะวิสัย” ดังนั้นศิลปินตะวันตกจึงพยายามจำลองธรรมชาติให้เหมือนจริงตามที่ตาเห็นอย่างเที่ยงตรงที่สุด ตรงกันข้ามกับศิลปินตะวันออกที่มีปรัชญาความเชื่อว่า ความงามและความจริง นั้นอยู่ในโลกภายในที่เห็นได้ด้วยปัญญาและจิตใจ ในแบบ “อัตวิสัย” ซึ่งต่างกันราวขาวกับดำ หรือกลางวันกับกลางคืน” (อิทธิพล ตั้งโฉลก, 2550:19)

             จากประเด็นนี้ ความเชื่อทางปรัชญาศิลปะนี้ยังคงสะท้อนรูปแบบความงามและความจริงนี้ในต้นศตวรรษที่21 อยู่หรือไม่ ผลลัพธ์ของภาพจิตรกรรมสามารถมองเห็นความแตกต่างนี้ได้ชัดเจนอย่างไร

 

            From a chapter of one “Teaching process for the advanced painting” book by professor Itthipol mention about the art exchange of philosophy between western-eastern that is extremely opposite sides.

            “The beauty and the truth of the western art estimates by their eyes sight as objective forms, therefore; the western artists attempt the paintings as close as what is seen. At the same time, the eastern who believe that the beauty and the truth are seen by a wisdom and soul as subjective forms. Two sides are totally conflict like a white and black or day and night.

            Form points of view, did the belief of art philosophy continue reflect the art forms of the beauty and truth in a present (21st century) and can look the different forms clearly?

Article Details

Section
บทความ : ศิลปะและการออกแบบ