ความสัมพันธ์ของลักษณะประชากรศาสตร์และส่วนประสมทางการตลาดบริการต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภค อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

Main Article Content

ณัฐวดี อุณยะวงศ์
ประสพชัย พสุนนท์

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7P’s) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภค อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภค อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี 3) เพื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการในการเลือกซื้อบ้านจัดสรรของผู้ผู้บริโภค อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เมื่อพฤติกรรมแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี โดยแบ่งตาม 15 ตำบล ในอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี จำนวน 400 คน ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบมีชั้นภูมิ และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS ด้วยค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ Chi-Square ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

          ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 31 ถึง 35 ปี มีอาชีพเป็นเจ้าของกิจการหรือทำธุรกิจส่วนตัว มีระดับการศึกษาปริญญาตรีสูงสุด สมรสหรืออยู่ด้วยกัน มีรายได้ต่อเดือนของครอบครัวเฉลี่ย 30,001 ถึง 40,000 บาท 2) มีพฤติกรรมการเลือกซื้อบ้านราคา 1,000,001 ถึง 2,000,000 บาท บุคคลที่มีอิทธิพลในการเลือกซื้อบ้านมากที่สุด คือ ตนเอง ช่องทางในการรับรู้ข้อมูลได้มาจากป้ายโฆษณา และประเภทที่อยู่อาศัยต้องการซื้อมากที่สุด คือ บ้านเดี่ยว 3) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการกับพฤติกรรมการเลือกซื้อบ้านจัดสรรของผู้บริโภค อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี พบว่าปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการโดยรวมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้อบ้านจัดสรรด้านปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อบ้าน ด้านเหตุผลในการซื้อบ้าน ด้านระยะเวลาในการผ่อนชำระกับสถาบันทางการเงินและด้านลักษณะของบ้านจัดสรรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 

 

           The objectives of this research were 1) to study the relationship between demographic factors and buying behavior for consumers in Banpong district, Ratchaburi province. 2) To study buying behavior in housing estate purchasing for consumers in Banpong district, Ratchaburi province. 3) To compare the relationship between service marketing mix factors that influenced consumers buying housing estate in Banpong district, Ratchaburi province in case of the difference in buying behavior. The sample size is 400 consumers living in Banpong district, Ratchaburi province. They are the consumers from 15 sub-districts in Banpong district. The method used is Stratified Sampling by using questionnaires to collect the data, analyzed by using SPSS program including Percentage, Mean and Standard Deviation. The test hypothesis is using chi-square at 0.05 level of significance. 

           The results of the research were found that 1) most consumers were males aged 31 to 35 years old, work as business owners or self-employed. With the highest academic degree as bachelor, married or lived together, household incomes per month 30,001 to 40,000 baht. 2) they intended to buy houses 1,000,001 to 2,000,000 baht and themselves have the most influential level on buying decision and billboards are the most common channel that consumers get the news and information. The consumers wanted to buy the single houses the most 3) the relationship of service marketing mix to consumers’ behavior in buying housing estate in Banpong District, Ratchaburi Province was found to associate with buying behaviors in factors that influenced for house buying, reasons for house buying and duration for installment with financial institution at 0.05 level of significance.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ