การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจพื้นที่การใช้งานและความเป็นส่วนตัว ของพนักงาน: กรณีศึกษาอาคารสำนักงานห้างหุ้นส่วนจำกัดนิทัศน์เฟอร์นิเจอร์

Main Article Content

กิตติยา วงษาเนาว์
ชัยสิทธิ์ ด่านกิตติกุล

Abstract

          งานวิจัยนี้เป็นการประเมินความพึงพอใจหลังการใช้งานอาคารสำนักงานห้างหุ้นส่วนจำกัดนิทัศน์เฟอร์นิเจอร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจพื้นที่การใช้งานอาคาร ความเป็นส่วนตัวของพนักงานผู้ใช้งานอาคาร และความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจพื้นที่การใช้งานอาคารและความเป็นส่วนตัวของพนักงานผู้ใช้งานอาคาร การวิจัยนี้ดำเนินการเก็บข้อมูลจากการวัดระดับความพึงพอใจหลังการใช้งานจากพนักงานผู้ใช้งานอาคารจำนวน 34 คน โดยการวิเคราะห์ผลทางสถิติด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสหสัมพันธ์เพียร์สัน

          ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า พนักงานผู้ใช้งานอาคารค่อนข้างพึงพอใจกับการใช้งานด้านต่าง ๆ อยู่ในระดับปานกลางและมาก แต่ด้านความเป็นส่วนตัวระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อย ซึ่งพนักงานส่วนใหญ่มีภาวะความเป็นส่วนตัวอยู่ในภาวะสันโดษและภาวะสนิทสนม โดยพบว่าตำแหน่งที่พนักงานคิดว่ามีความเป็นส่วนตัวในการทำงาน คือตำแหน่งที่ใกล้ทางเข้าทางออก ใกล้ผนัง และใกล้ริม-เสา ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจพื้นที่การใช้งานอาคารและความเป็นส่วนตัวมีความสัมพันธ์กันในระดับสูง ในเชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จากผลการวิจัยทั้งหมด พนักงานผู้ใช้งานอาคารให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัว แต่ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อย ซึ่งควรมีการปรับปรุงพื้นที่อาคารสำนักงานให้มีความเป็นส่วนตัวเพิ่มมากขึ้นและควรคำนึงถึงความเป็นส่วนตัวในการออกแบบอาคารสำนักงานในอนาคตต่อไป


          Mainly, the research aimed to evaluate the satisfaction of workers at Nitadfurniture, more specifically, the relationship between the satisfaction with workplace spaces and the privacy needs of the workers. Methodologically, by using the questionnaire, they were distributed to 34 respondents. Then, statistics include percentage, average, standard deviation and Pearson correlation are used to analyze the data.

          The study indicated that the workers were satisfied with their workplace at a medium to high levels while they were satisfied with their privacies at a low level. The findings also showed that according to the opinion of the workers, the privacy areas are near the entrances and the exits, near the walls, and near the columns. Moreover, the relationship between the satisfaction with workplace spaces and the privacy needs were related at high level, at statistical significance .01. Additionally, the research showed that while the privacy issue was concerned, the level of satisfaction with the privacy in their workplace was low. 

Article Details

Section
บทความ : ศิลปะและการออกแบบ