การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะการคิดเชิงบวกของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร

Main Article Content

พิทักษ์ สุพรรโณภาพ
อรอุมา เจริญสุข
องอาจ นัยพัฒน์
สังวรณ์ งัดกระโทก

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาคุณลักษณะการคิดเชิงบวกของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร 2.วิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะการคิดเชิงบวกของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาเอกสาร ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตชั้นปีที่ 2 ขึ้นไปที่กำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยศิลปากร ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2559 จำนวน 546 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น  เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบวัดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.954 ใช้วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ สกัดองค์ประกอบด้วยวิธีองค์ประกอบหลักและหมุนแกนองค์ประกอบแบบมุมฉากด้วยวิธีแวร์ริแมกซ์

          ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบคุณลักษณะการคิดเชิงบวกของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตมหาวิทยาลัยศิลปากร มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความเชื่อมั่นในตนเอง  2) การมองโลกในแง่ดี  3) ความมั่นคงทางอารมณ์  4) การมองโลกตามความจริง  5) การมีจิตสาธารณะ และ 6) ความมุ่งมั่น โดยทั้ง 6 องค์ประกอบสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของคุณลักษณะการคิดเชิงบวกได้ 41.24% 

 

          The purposes of this research were 1) to study the positive thinking characteristics for Undergraduate Students of Silpakorn University and 2) to be analyze the factor of the positive thinking characteristics for Undergraduate Students of Silpakorn University.

          This mixed research was comprised the qualitative and quantitative method. The qualitative research included literature review and the in-depth interview with 8 key informants by purposive Sampling. The research tool was in-depth interviews form. The data was analyzed by by content analysis. The sample for the quantitative research consisted of 546 students at bachelor degree Level of Silpakorn University in the first semester of academic year 2016 by stratified random sampling. The research tool  was the 5–point rating scale which the reliability was at 0.954. The data was analyzed by exploratory factor analysis with using principal components analysis and orthogonal rotation by varimax.

          The research results indicated that the characteristics of Positive thinking consist of 6 factors, that are 1) Self-confidence factor  2) optimism factor  3) Emotional Control factor  4) realism factor  5) Public Mind  factor  and 6)  determination factor. In particular, the obtained factors accounted for 41.24% of the positive thinking characteristics for Undergraduate Students of Silpakorn University.

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ