แนวทางการมีส่วนร่วมระหว่างวัดและชุมชนในการจัดกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

Main Article Content

พระเริ่ม ไขตะขบ
นลินทิพย์ พิมพ์กลัด
กิ่งแก้ว ปะติตังโข

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันการมีส่วนร่วมระหว่างวัดและชุมชนในการจัดกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เพื่อศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมกับชุมชนในการจัดกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และเพื่อประเมินแนวทางการมีส่วนร่วมระหว่างวัดและชุมชนในการจัดกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน การมีส่วนร่วมระหว่างวัดและชุมชนในการจัดกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ระยะที่ 2 การร่างแนวทางการมีส่วนร่วมระหว่างวัดและชุมชนในการจัดกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ระยะที่ 3 ตรวจสอบร่างแนวทางการมีส่วนร่วมระหว่างวัดและชุมชนในการจัดกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และระยะที่ 4 การนำเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมระหว่างวัดและชุมชนในการจัดกิจกรรมวันสำคัญ ทางพระพุทธศาสนาต่อสาธารณะ  ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ พุทธศาสนิกชนที่เข้าร่วมกิจกรรม วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา กำหนดกลุ่มตัวอย่างจากการคำนวณได้เท่ากับ 386 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า ตรวจสอบค่าความเที่ยงรวมทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการมีส่วนร่วมระหว่างวัดและชุมชนในการจัดกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาโดยอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับดังนี้ ด้านการริเริ่มการดำเนินการ ด้านการดำเนินงาน ด้านการวางแผนการดำเนินการ และด้านการประเมินผล ส่วนความต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาโดยภาพรวมอยู่ในระดับการเข้าร่วมดำเนินงาน 2) แนวทางการมีส่วนร่วมระหว่างวัดและชุมชนในการจัดกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมการ คือ พระสงฆ์ต้องเป็นแบบอย่างที่ดี พระสงฆ์ต้องสร้างเครือข่ายทางชุมชน ใช้ช่องทางการสื่อสารโดยวิธีการประชาสัมพันธ์โดยเลือกใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ขั้นตอนที่ 2 การริเริ่ม คือ วัดและชุมชนต้องจัดตั้งทีมงานจากอาสาสมัครที่มีความศรัทธาและการสรรหา ขั้นตอนที่ 3 การวางแผน คือ มีการประชุมวางแผนงาน ทำหนังสืออย่างเป็นทางการ และประชาสัมพันธ์ ขั้นตอนที่ 4  การดำเนินการ คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินงานตามแผนที่ได้วางไว้ และควรมีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานเก็บรายละเอียดการดำเนินงานเพื่อเตรียมการประเมินผลการดำเนินงาน ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผล คือ การพัฒนาจุดเด่นและแก้ไขจุดบกพร่องในครั้งต่อไป และ 3) ผลการประเมินความเหมาะสมในการนำแนวทางการมีส่วนร่วมระหว่างวัดและชุมชนในการจัดกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาไปปฏิบัติ  ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 

 

             This research purposed to study the current situation of participation between temples and communities in organizing activities on Buddhist Days and to evaluate the organization by temples and communities. The research is divided into 4 durations as follows: Duration 1 the study of the current situation of participation between temples and communities in organizing activities on Buddhist Days; Duration 2 the participation guidelines of temples and communities: Duration 3 the examination of the guidelines; and Duration 4, the presentation of the guidelines to the public. The populations in the study were Buddhists who joined the activities on Buddhist Days for 386 persons, using calculation sampling. The questionnaire with validity at 0.97 was applied as the researching tool. The statistics for data analysis consisted of percentage mean and standard deviation.

             According to the research, 1) the current situation of the participation between temples and communities to organize activities on Buddhist days is in the high level, sorted in order, initiation, operation, planning and evaluation. The overall participation demand is at the same level as the participation; 2) the guidelines consists of 5 steps : Step 1 preparation, the monks must be the good examples, build the community network, communication channel by online PR; Step 2 Start, temples and communities appoint the volunteer team who has the faith to do the recruitment; and 3) the evaluation result of the guidelines in overall is at the highest level. 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ