ลักษณะบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบกับพฤติกรรมการเลียนแบบเน็ตไอดอลของวัยรุ่น

Main Article Content

ภัทราพันธ์ หรุ่นรักวิทย์

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับ การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการเลียนแบบเน็ตไอดอลของวัยรุ่นตามลักษณะบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัยควบคู่กันทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้การสนทนากลุ่มแบบเจาะจง (Focus group discussion)กับนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 20 คน และวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยมีรูปแบบ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) แบบตัดขวาง(Cross -Sectional Study) และใช้แบบสอบถาม(Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 400 คน จากนั้นประมวลผลและนำเสนอผลการวิจัยด้วยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานทางสถิติใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

            ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เปิดรับข้อมูลของเน็ตไอดอลผ่าน Facebook และ Instagram อย่างน้อยวันละครั้งต่อนื่องกันมากกว่า 1 ปี กลุ่มตัวอย่างรับรู้ว่าเน็ตไอดอลใช้ Social Network เป็นเครื่องมือในการสื่อสารและมีทัศนคติที่ดีต่อเน็ตไอดอล กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีบุคลิกภาพแบบมีจิตสำนึก (Conscientiousness) รองลงมาคือบุคลิกภาพแบบเปิดรับประสบการณ์ (Openness to experience) บุคลิกภาพแบบแสดงตัว (Extraversion) บุคลิกภาพแบบประนีประนอม (Agreeableness) และบุคลิกภาพแบบหวั่นไหว (Neuroticism)

            ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าวัยรุ่นที่มีลักษณะบุคลิกภาพที่แตกต่างกันมีการเปิดรับและรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับเน็ตไอดอลไม่แตกต่างกัน แต่มีทัศนคติและพฤติกรรมการเลียนแบบเน็ตไอดอลแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญ 0.05 ส่วนการเปิดรับข้อมูลเกี่ยวกับเน็ตไอดอลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ข้อมูลโดยมีความสัมพันธ์ในระดับค่อนข้างต่ำ และทัศนคติมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการเลียนแบบเน็ตไอดอลโดยมีความสัมพันธ์ในระดับค่อนข้างต่ำ

 

          This research’s purpose is to study the exposure, perception, attitude and Imitation behavior of net idol in adolescent according to five components of personality using both qualitative research by focus group discussion with 20 undergrad students and quantitative research by cross – sectional study and questionnaire as a data collective tool from 400 undergrad students. Processing and presenting the result of the study by descriptive statistic method. The statistics using for data analysis are frequency, percentage, arithmetic mean, and standard deviation. And for statistical hypothesis testing using Pearson correlation coefficient method.

             Study found out that most of the sample group are female ages under 20, studying in a junior year in a university, and living in Bangkok and suburban area. The sample group are most likely to expose to the net idol data via Facebook and Instagram at least once a day continually more than a year. The sample group acknowledge that net idol normally using Social Network as a communication tool, also the sample group have a positive attitude with net idol. Most of the sample group have conscientiousness personality. Second have openness to experience personality, and extroversion, agreeableness, neuroticism personality accordingly.

             The result of statistical hypothesis testing shows that even variant personality adolescent have the same expose and perception to the net idol data but have a different level in attitude and Imitation behavior in level of significant 0.05. For the expose to net idol data, it has a positive relation with the perception of the data but not in the significant level, also the attitude has a positive relation to Imitation behavior in the insignificant level as well.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ