การประเมินคุณภาพโมเดลการวัดองค์ประกอบการบริหารจัดการความเสี่ยงของ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Main Article Content

จักรกฤษณ์ โปณะทอง

Abstract

              บทความนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ประเมินคุณภาพของโมเดลการวัดองค์ประกอบการบริหารจัดการความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยใช้โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM: Structural Equation Modeling) แบบ PLS-SEM ซึ่งประกอบด้วยโมเดลการวัด (Measurement Model หรือ Outer Model) และโมเดลโครงสร้าง (Structural Model หรือ Inner Model) โดยโมเดลการวัดมี 2 ชนิด ได้แก่ ชนิดรวมตัว (Formative) และชนิดสะท้อน (Reflective) ในที่นี้ โมเดลการวัดมี 3 อันดับคือ อันดับที่ 1 เป็นโมเดลชนิดสะท้อน มีตัวแปรสร้าง (Constructs) ทั้งหมด 14 ตัว ตัวแปรสร้างแต่ละตัวมีจำนวนตัวบ่งชี้ที่แตกต่างกัน อันดับที่ 2 เป็นโมเดลชนิดรวมตัว ประกอบด้วยปัจจัยภายนอก ซึ่งมีตัวแปรสร้างของอันดับที่ 1 เป็นตัวบ่งชี้ จำนวน 5 ตัว และปัจจัยภายใน ซึ่งมีตัวแปรสร้างของอันดับที่ 1 เป็นตัวบ่งชี้ จำนวน 9 ตัว และอันดับที่ 3 เป็นโมเดลชนิดรวมตัว ซึ่งมีตัวแปรสร้าง 2 ตัวเป็นตัวบ่งชี้ ได้แก่ปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในที่กล่าวถึงข้างต้น สถิติที่ใช้ในการวัดคุณภาพโมเดลการวัดแบบสะท้อน คือ ความคงเส้นคงวาหรือความเที่ยงภายใน ความเที่ยงของตัวบ่งชี้ ความตรงเชิงลู่เข้า และความตรงเชิงจำแนก และสถิติที่ใช้ในการวัดคุณภาพโมเดลการวัดแบบรวมตัว คือ ความตรงเชิงลู่เข้า การตรวจสอบสภาวะร่วมเส้นตรง การตรวจสอบการมีนัยสำคัญ และความเกี่ยวข้องกันระหว่าง Outer Weights กับ Outer Loadings

             ผลการตรวจสอบคุณภาพของตัวบ่งชี้ชนิดสะท้อนของแปรสร้างอันดับที่ 1 โดยใช้สถิติความคงเส้นคงวาหรือความเที่ยงภายใน ความเที่ยงของตัวบ่งชี้ ความตรงเชิงลู่เข้า และความตรงเชิงจำแนก พบว่า ตัวแปรสร้างผ่านเกณฑ์คุณภาพทุกตัว และผลการตรวจสอบคุณภาพของตัวบ่งชี้ชนิดรวมตัวของแปรสร้างอันดับที่ 2 และอันดับที่ 3 โดยใช้สถิติความตรงเชิงลู่เข้า การตรวจสอบสภาวะร่วมเส้นตรง การตรวจสอบการมีนัยสำคัญ และความเกี่ยวข้องกันระหว่าง Outer Weights กับ Outer Loadings ก็พบว่า ตัวแปรสร้างผ่านเกณฑ์คุณภาพทุกตัวเช่นเดียวกัน ดังนั้น โมเดลการวัดที่พัฒนาขึ้นนี้ สามารถนำไปใช้ในการบริหารจัดการความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒได้อย่างมีคุณภาพ

 

           This study aims to evaluate a quality of Measurement Model of risk managementelements of Srinakharinwirot University by using SEM (Structural Equation Modeling), PLS-SEM type. PLS-SEM is comprised of ‘Measurement Model’ or ‘Outer Model’ and ‘Structural Model’ or ‘Inner Model’. Besides, there are two types of measurement models which are called ‘Formative’ and ‘Reflective’. The first type of measurement model is ‘Reflective’ model which has fourteen variable constructs. Each variable construct has its own indicators.  The second type of measurement model is ‘Formative’ model. This model is composed of external factors and internal factors. The external factors contain five indicators of the variable constructs. Whereas the internal factors contain nine indicators of the variable construct. The third type is ‘Formative’ model including two indicators of the variable construct. The statistic used to evaluate a quality of ‘Reflective’ model is comprised of ‘internal consistency’, ‘indicator reliability’, ‘convergent validity’ and ‘discriminant validity’. Moreover, the statistic used to measure a quality of ‘Formative’ model includes ‘convergent validity’, ‘collinearity’, ‘significance’ and the ‘relevance’ between ‘Outer Weights’ and ‘Outer Loadings’. It is found that all variables were constructed through the same quality assurance. Hence, these measurement models can be used potentially in risk management of Srinakharinwirot University.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ