รูปแบบการจัดสวัสดิการชุมชนเชิงบูรณาการระดับเมืองที่มีประสิทธิผล

Main Article Content

กฤติญา กีรติกอบมณี
คณิต เขียววิชัย

Abstract

           งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของประชาชนในชุมชนระดับเมือง และศึกษาปัจจัยในการจัดสวัสดิการชุมชนเชิงบูรณาการระดับเมืองที่จะตอบสนองความต้องการจำเป็นของประชาชนผู้ขอรับบริการอย่างทั่วถึง เพื่อพัฒนาเป็นรูปแบบการจัดสวัสดิการชุมชนเชิงบูรณาการที่ระดับเมืองที่มีประสิทธิผล ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสม (Mixed Method Research) โดยมีเครือข่ายพัฒนาสิ่งแวดล้อมคลองบางบัว จำนวน 13 ชุมชนเมืองในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นหน่วยการวิเคราะห์ ดำเนินการการวิจัย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาความต้องการจำเป็นสวัสดิการชุมชน ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาปัจจัยที่จะตอบสนองความต้องการจำเป็น โดยขั้นตอนที่ 1และ2 ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง 400 ครัวเรือน และการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการวิจัยในลักษณะการศึกษาชุมชนจำนวน 13 ชุมชน ควบคู่กันไป ขั้นตอนที่ 3 สร้างรูปแบบที่ให้ชุมชนมีส่วนร่วม  ขั้นที่ 4 การพัฒนาและปรับปรุงรูปแบบ ขั้นตอนที่ 5 การรับรองรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ที่เกี่ยวข้อง

               ผลการวิจัยพบว่า

 

            1.ความต้องการจำเป็นของประชาชนในชุมชนเมืองเรียงตามลำดับความสำคัญคือ 1. ด้านสวัสดิการด้านที่อยู่อาศัย (PNI =0.82) 2. สวัสดิการด้านการเสียชีวิตและสวัสดิการด้านการกู้ยืม( PNI =0.78) 3. สวัสดิการด้านสิ่งแวดล้อม (PNI =0.60)  4. ด้านสุขภาพอนามัย (PNI = 0.67) และการเกิด (PNI = 0.56)  ซึ่งในปัจจุบันประชาชนได้รับสวัสดิการชุมชนเชิงบูรณาการ ด้านสิ่งแวดล้อม คือได้รับสาธารณูปโภคครบถ้วนเหมาะสม และด้านการให้กู้ยืมได้รับการคิดดอกเบี้ยจำนวนที่เหมาะสม และในอนาคตไม่มีความคาดหวังเรื่องสวัสดิการที่แตกต่างไปจากเดิม ขณะที่ด้านที่อยู่อาศัยประชาชนมีการจัดการด้านการออมเพื่อที่อยู่อาศัยดีแล้ว แต่หวังว่าอนาคตจะมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง  ในทำนองเดียวกันด้านสวัสดิการเสียชีวิตมีความคาดหวังว่าอนาคตครอบครัวผู้เสียชีวิตจะได้รับเงินสวัสดิการช่วยเหลือในจำนวนที่เหมาะสม และในด้านการเกิดมีความคาดหวังในอนาคตว่าลูกที่เกิดมาจะได้รับการช่วยเหลือด้านการศึกษา เช่นเดียวกัน ในด้านสุขภาพมีความคาดหวังที่จะได้รับเงินชดเชยในกรณีเจ็บป่วยที่เหมาะสม

               2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการจำเป็นของประชาชนผู้ขอรับบริการ พบว่ามีปัจจัย 6 ตัวแปร คือ เพศ การศึกษา อาชีพ สวัสดิการที่ต้องการมากที่สุดในปัจจุบันลำดับที่ 1 (สวัสดิการด้านที่อยู่อาศัย) การได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนสวัสดิการชุมชน 6 ด้าน และระดับความคิดเห็นต่อกองทุนสวัสดิการชุมชน                  มีความสัมพันธ์กับความต้องการจำเป็นของประชาชนผู้ขอรับบริการอย่างมีนัยสำคัญ

               3. การพัฒนารูปแบบการจัดสวัสดิการชุมชนเชิงบูรณาการระดับเมืองที่มีประสิทธิผล ได้รูปแบบชื่อว่า“HELPB Model” มีองค์ประกอบสำคัญคือ การกำหนดเป้าหมายร่วมกันเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยได้เข้าถึงสวัสดิการและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น โดยการจัดสวัสดิการชุมชนเชิงบูรณาการต้องอิงหลักการสำคัญ 6 ประการ และมีปัจจัย เงื่อนไข 10 ประการ มาเป็นตัวหนุนเสริมให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมและสร้างการทำงานแบบประสานความร่วมมือเชิงบูรณาการระหว่างชุมชน ภาครัฐ กรุงเทพมหานคร สถาบันการศึกษา องค์การเอกชน ให้มีความเข้มแข็งมีพลังที่จะร่วมมือกันช่วยเหลือประชาชนในเขตเมืองให้มีความมั่นคงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากเดิม  ซึ่งรูปแบบนี้ได้ผ่านกระบวนการรับรองจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่เกี่ยวข้องแล้ว

 

            This research aimed to study on the needs of urban people and the factors which related to urban welfare management so that it could be able to develop the integrated urban welfare management model which met the needs and had the effective impacts including cover for all urban people. The research information was conducted from 13 urban communities under the Klong Bang Bua environmental network in Bangkok. The research uses Mixed Method Research through 5 research steps which were step 1 was studying in term of the community welfare needs and step 2 was studying on factors that had the impacts to respond urban people’s needs. Both processes used quantitative research which there was 400 households as a sample size and qualitative research in term of study on community characteristic in those 13 communities. Step 3 was establishing community participation’s model, step 4 was the model development and improvement, and step 5 was Connoisseurship.

          The research found that;

             1. The needs of urban people could prioritize as follow;  1.Housing (PNI =0.82) follow by 2. Passed away and Loans (PNI =0.78) 3. Housing (PNI =0.68) 4. Health (PNI = 0.67)  5. Environment (PNI =0.60) in order.  According to the research results showed that nowadays, people were able to access to the integrated community welfare in term of environment which mean they were  fully accessed and received appropriate public utility, loan issue; people were able to access to loan that had proper interests. People did not have different expectation in those issues in the future. As the issue of housing, although people could access to housing saving funds but they still expected that  they could have the security housing in the future as same as the issue of pass away welfare which people expected that they could also access and receive an appropriate subsidize in the future. Moreover, the issue of birth, People trended to expect that their children will receive the education support as well as receiving appropriate compensation during their sickness time.

             2. This research also presented that the factors in term of gender, education background and occupation had the impacts to community welfare, especially the issue of accessing to community welfare funds in all 6 components and housing welfare issue was the first rank that people mostly needed. The level of opinion on urban welfare funds had significant relationship to the needs of people who received the service.

             3. An effective of development on the integrated urban welfare management as a “HELPB Model” had significant elements which was identifying the objectives to assist low income person in term of accessing to welfare and having good quality of life. The integrated urban welfare management had referred according to 6 components and 10 factors. Those components and factors helped to create the participation approach and integrated collaboration between communities, government sector. Bangkok government, academic sector and private sector to sustain and empower in term of assisting people in urban area to have good security and quality of life. The model was already accepted and verified by Connoisseur.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ