การพัฒนาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์

Main Article Content

จงกล วจนะเสถียร

Abstract

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ และหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ ซินเนคติกส์ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ  ซินเนคติกส์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กรุงเทพมหานคร ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2559  มีจำนวน 2 ห้อง จำนวนนักเรียน 71 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม จากนั้นสุ่มจับฉลากได้ห้อง ป.3/1  มีจำนวนนักเรียน 36 คน ใช้เวลาในการทดลอง 3 สัปดาห์ โดยสอนสัปดาห์ละ 3 คาบ คาบเรียนละ 50 นาที รวมทั้งสิ้น 9 คาบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ จำนวน 3 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งเป็นข้อสอบแบบอัตนัยจำนวน 2 ข้อที่เป็นคู่ขนานกัน และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าเฉลี่ย (x) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และค่าสถิติทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent)

ผลการวิจัยพบว่า

             1. ความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

              2. ความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก โดยมีค่าเฉลี่ย()อยู่ที่ระดับ 2.54 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) อยู่ที่ระดับ 0.17

 

          This research was aimed to: 1) compare abilities of grade 3 students on creative writing before and after applications of Synectics learning activities; and  2) study opinions of grade 3 students towards Synectics learning activities. The sample group in this research consisted of grade 3 students of La-Or Utis Demonstration School, Bangkok who studying in first semester of 2016, total  36 students. The simple random sampling was employed for selecting the sample group and classroom was a random unit. The researcher spent three weeks for teaching three periods per week, 50 minutes each, totaling 9 periods. In addition, the research tools were three Synectics learning plans, creative writing ability pre-test before applying Synectics learning activities and post-test after applying Synectics learning activities, as well as questionnaire surveying opinions of students towards Synectics learning. The mean(), standard deviation (S.D), t-test dependent and content analysis were applied for data analysis.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ