การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนการดู การฟัง และการอ่าน เพื่อส่งเสริม การคิดวิเคราะห์ และ การคิดเชิงเหตุผล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

ชัยยา บุรีสุวรรณ
สุเทพ อ่วมเจริญ

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนการดู การฟัง และการอ่านเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และการคิดเชิงเหตุผล ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพ รูปแบบการสอนการดู การฟัง และการอ่านเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และการคิดเชิงเหตุผล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลรูปแบบการเรียนการสอนการดู การฟัง และการอ่านเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และการคิดเชิงเหตุผล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 3) เพื่อประเมินความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน ฯ ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดน้ำพุ อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และ การคิดเชิงเหตุผล วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการเรียน การสอนการดู การฟัง การอ่าน เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และการคิดเชิงเหตุผล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีชื่อว่า“KAI Model” ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 6 องค์ประกอบ คือ  หลักการ  วัตถุประสงค์  สาระความรู้  ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  ระบบสังคม และ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้กระบวนการเรียนการสอนมี3 ขั้นตอน คือหนึ่งทำความรู้ให้ชัดเจน สองเรียนรู้จากการปฏิบัติ และสามเพิ่มพูนความสามารถการจัดระบบข้อมูล ซึ่งมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับ78.36/75.00 ,78.36/70.00 2. ประสิทธิผลของรูปแบบการสอนการดู การฟัง และการอ่านเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และการคิดเชิงเหตุผลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า 2.1) หลังเรียนตามรูปแบบการสอน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีทักษะการคิดวิเคราะห์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, 2.2) หลังเรียนตามรูปแบบการสอน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีทักษะการคิดเชิงเหตุผลสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, และ3. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอน นักเรียนเห็นด้วยในระดับมากที่สุด

 

          The objectives of this research were to: 1) develop and study the efficiency of the Visual literacy listening and Reading instructional model to Enhance critical and Reasoning Thinking of Secondary education Student. 2) Study the effectiveness of the Visual literacy listening and Reading instructional model of Secondary education Student. 3) Assesses the opinions of the students toward the instruction with the developed critical and Reasoning thinking instuctioal model.The sample comprised 12 second grade students at Watnampu School in Doembangnangbuat district, Suphanburi Province of the Suphanburi Primary Eduactional Service Area Office three during the second semester of academic year 2014. The research instruments consisted of the Visual literacy listening and Reading instructional model to Enhance critical and Reasoning Thinking of Secondary education Student, Model Handbook, Lesson plans, critical thinking test, reasoning thinking test, The data were analyzed by Percentage(%), mean( ), standard deviation(S.D.), dependent t-test and content analysis.

             The Results of the study were as follows:

             1. The developed instructional model called "KAI MODEL" namely: consisted of  important factors 6 components: Principle, objective, content, the process of learning activities, Social system, and nurturant effects. The process comprised of 3 phases : (1) Knowledge Clarification (2) Active Learning (3) Increasing Information abilities. The efficiency of this model was 78.36/75.00,78.36/70.00. 2. The study of an effectiveness of the Visual literacy listening and Reading instructional model to Enhance critical and Reasoning Thinking of Secondary education Student were as follows: 2.1) After using the KAI model, the students’ critical thinking skills were higher than before receiving the instruction at a .05 significance level, 2.2) after using the KAI model, the students’ reasoning thinking were higher than before receiving the instruction at a .05 significance level, and 3.The opinions of the students toward the instruction with the developed critical and reasoning thinking instructional model were at the highest level.

 

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ