การประเมินผลการจัดการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556 สำหรับกลุ่มเป้าหมายนอกระบบ

Main Article Content

ชูศักดิ์ เอื้องโชคชัย
ปาน กิมปี
สุรพงศ์ จำจด

Abstract

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556 สำหรับกลุ่มเป้าหมายนอกระบบ ด้วยระเบียบการวิจัยเชิงประเมินที่อาศัยข้อมูลจากการประเมินเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง การจัดสนทนากลุ่ม และการระดมความคิดเห็น ผลการประเมินสรุปได้ว่า สภาพของการจัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้นดำเนินการไปตามหลักการและหลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษากำหนด โดยเน้นการสร้างคนให้มีอาชีพและยกระดับทักษะ ความรู้ และสมรรถนะในการประกอบอาชีพ จุดเด่นของการดำเนินงาน ได้แก่ การมีความยืดหยุ่นและความหลากหลายในการจัดการศึกษาที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่ ตลอดจนให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม และส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง สำหรับปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานพบว่าส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับครูประจำกลุ่ม ปวช. ที่ลาออกระหว่างภาคการศึกษา รวมถึงขาดความเข้าใจในการจัดกระบวนการเรียนการสอนเนื่องมาจากการขาดประสบการณ์ในการจัดชั้นเรียน แนวทางการพัฒนาที่สำคัญของการจัดการศึกษา คือกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยควรกำหนดแนวทางการจัดการศึกษาตามหลักสูตรให้มีคุณภาพที่มีแบบแผนชัดเจนในการดำเนินงาน และเชิญชวนภาคีเครือข่ายให้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา รวมถึงมีนโยบายการพัฒนาครูประจำกลุ่ม ปวช. ให้เป็นรูปธรรมที่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างรวดเร็ว

 

          The purpose of this study were to monitor and evaluate educational organization in accordance with Vocational Certification Program 2013 (2556 BE.) on informal targets. The study employed evaluative research methodology using data gathered through document evaluation, interviews of relevant samples, group discussion organization, and brainstorming. The evaluation result was concluded that the educational organization in accordance with the program was consistent with the principles and criteria set by Office of the Vocational Education Commission and it emphasized on job creation and the improvement of professional skills, knowledge, and capability in human resources. The core strengths of the implementation were the flexibility and variety in organizing instructions that could meet the need of adult learners as well as valuing learner’s participation and self-guided learning. In terms of problems and obstacles, most difficulties involved personnel issue since vocational lecturers often resigned in the middle of an academic semester as well as the lack of understanding in the process of instructional organization due to the lack of classroom organization experience. A room of improvement regarding educational organization is that the Ministry of Education and The Office of the Non-Formal and Informal Education (ONIE) should set a standard on how, with quality, to organize education in accordance with the program and invite associated network to take part in making it happen as well as set out a concrete policy related to the development of vocational teachers which can quickly put into action and place.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ