การประเมินโครงการพัฒนาวิทยากรแกนนำการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อเตรียมความพร้อมการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ English Bilingual Education (EBE) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (กลุ่มการพัฒนา ณ ประเทศสิงคโปร์) ตามโครงการความร่วมมือระหว่างสำนั

Main Article Content

มาเรียม นิลพันธุ์ และคณะ

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนภาษาอังกฤษของครูวิทยาศาสตร์ที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ 2) ประเมินสมรรถนะการสอนวิทยาศาสตร์ในด้านความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ด้านพฤติกรรมการสอน และด้านความสามารถในการพัฒนานวัตกรรม 3) ประเมินสมรรถนะการสอนวิทยาศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของครูวิทยาศาสตร์ที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ 4) ประเมินความสามารถในการขยายแนวคิดของครูวิทยากรแกนนำสู่ครูเครือข่าย 5) ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนหลังเรียน 6) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการสอนของครูวิทยาศาสตร์ที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ และ7) เสนอรูปแบบการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของครูวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 เพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และประชาคมโลก ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือรองผู้อำนวยการสถานการศึกษา 49 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 98 คน ศึกษานิเทศก์ภาษาอังกฤษ และวิทยาศาสตร์ 34 คน ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ต้นแบบ 49 คน นักเรียนที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์จากครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ต้นแบบที่ผ่านการอบรม 1,513 คน ครูเครือข่ายในการขยายผลการจัดการเรียนการสอน 229 คน ผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสถาบันภาษาอังกฤษ 2 คน ผู้ประสานงานโครงการ 2 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนวิทยาศาสตร์และด้านการสอนวิทยาศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษ 6 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ ประเด็นสนทนากลุ่ม แบบสอบถาม แบบสังเกตพฤติกรรม แบบทดสอบ และแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนภาษาอังกฤษของครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษอยู่ในระดับดี 2) สมรรถนะการสอนวิทยาศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษ ด้านความสามารถในการเขียนหน่วยการเรียนรู้/แผนการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก ด้านพฤติกรรมการสอนวิทยาศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษพบว่า ด้านการสอนและวิชาชีพอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสอนวิทยาศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษพบว่า มีความสามารถอยู่ในระดับมาก 3) สมรรถนะการสอนวิทยาศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของครูวิทยาศาสตร์สอนเป็นภาษาอังกฤษ พบว่า ครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษได้ และมีพัฒนาการสูงขึ้นในด้านความมั่นใจในการใช้คำศัพท์วิทยาศาสตร์มากขึ้น ด้านความสามารถในการนำทักษะภาษาอังกฤษมาบูรณาการในการจัดการเรียนการสอน สามารถเลือกเทคนิค วิธีการสอน และการจัดกิจกรรมได้อย่างเหมาะสมกับการเรียนรู้ รวมทั้งครูวิทยาศาสตร์ประเมินตนเองว่า หลังการอบรมครูมีพัฒนาการสูงขึ้นในด้านการสอนวิทยาศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษ 4) ครูวิทยากรแกนนำมีความสามารถในการขยายแนวคิดสู่ครูเครือข่ายอยู่ในระดับมากที่สุด 5) นักเรียนมีคะแนนทักษะภาษาอังกฤษตั้งแต่ระดับไม่ผ่านเกณฑ์ถึงระดับดีมาก ซึ่งภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับไม่ผ่านเกณฑ์ ทักษะการพูดอยู่ในระดับพอใช้ ทักษะการเขียนอยู่ในระดับควรปรับปรุง ส่วนทักษะการอ่าน และการฟัง อยู่ในระดับไม่ผ่านเกณฑ์ 6) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการสอนของครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษที่ผ่านการอบรมอยู่ในระดับมาก และ7) รูปแบบการพัฒนาครูผู้สอนวิทยากรแกนนำการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษพบว่า หลักการเป็นการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ English Bilingual Education (EBE) วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมความพร้อมการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ English  Bilingual Education (EBE) กระบวนการ คือ (1) Understanding (2)Training (3) Reflection (4) Workshop and Innovation (5) Creating the network (6) ตDemonstration or Cascade (7) Practice (8) Mentoring and Coaching (9) Empower และ(10) Professional Learning Community

 

          The objectives of this research were to: 1) evaluate English language skills (listening, speaking, reading and writing skills) of master Science teachers, 2) evaluate teachers’ competencies of teaching Science in English in three aspects a. Writing lesson plan b. Teaching and professional ability and c. Innovation and teaching aids, 3) investigate the perspectives of Education supervisors, school principals, heads of Science and English departments toward the master teachers’ competencies of teaching Science subject in English,  4) evaluate the master teacher’s training skills as trainers, 5) evaluate English language and Science achievement of the students, 6) investigate students’ perception towards the master teachers’ competencies of teaching Science in English, and 7) suggest the model for empowering the Science teachers who teach the subject in English, and propose expected characteristics of the Science teachers for the 21st Century. The data was obtained from 1) 49 school principals or vice principals from each participating school, 2) 98 heads of English and Science Departments, 3) 34 educational supervisors of English and Science subjects, 4) 49 master Science teachers, 5) 1,513 students who studied with the master Science teachers, 6) 229 Science teachers who were trained by the master Science teachers,7) 2 officials from the Educational Service Area Office and the Project Coordinator, and 8) 6 experts in English and Science teaching and learning. Research Instruments consisted of Interview forms, Focus Group Discussion Guidelines, Questionnaire forms, behavioral observation forms, Test forms, and Assessment forms. Statistics used in this research were descriptive statistics, percentage, mean scores, standard deviation, and content analysis.

               The research results were as follows:

               1.  As for the English language skills (listening, speaking, reading and writing skills) of the master Science teachers were found good level.

               2.  The master teachers’ competencies of teaching Science in English were found very good in Part 1 (Writing Lesson Plan). The students’ learning outcomes and performance indicators were clearly written.  Part 2 (Teaching and Professional Ability) was generally found excellent. The results were found high on teachers’ confidence, and flexibility in teaching; however, the result were found less on evaluation and assessment aspects. The result of Part 3 (Innovation and Teaching Aids) was found very good. 

               3.  As for the perspectives of Education supervisors, school principals, heads of Science and English departments toward the master teachers’ competencies of teaching Science in English and expected characteristics, they were found able to teach Science subject in English. They were more confident in introducing vocabulary about Science in English. They were also able to appropriately choose teaching methodologies, learning techniques and activities. Additionally, the self-evaluation of master teachers towards their teaching competencies expressed their progress in teaching Science in English.  

               4.  As a trainer, the master teachers could act very well during the training programs. The feedback from the trainees was generally found excellent.

               5.  The English achievement test result of the students who studied Sciences in English indicated that the test scores of the students were varied from an unsatisfied level to an excellent level. Their scores generally felt on an unsatisfied level. The level of their speaking skill was only moderate, whereas the level of their writing skill needed to be improved. The other two skills, reading and listening, both were in an unsatisfied level.

               6.  Students’ perception towards the master teachers’ competencies of teaching Science in English was generally found very good.

               7.  The model for developing the master teachers were found: principle - English Bilingual Education (EBE) in Science subject; objectives - to develop Science Instruction Management in English to prepare the Science teachers to use English Bilingual Education (EBE) model; process - include the following ten stages : 1) Understanding, 2) Training, 3) Reflection, 4) Workshop and Innovation, 5) Creating the Network, 6) Demonstration or Cascade, 7) Practice, 8) Mentoring and Coaching, 9) Empowering, and 10) Professional Learning Community.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ