ผลกระทบจากแรงงานข้ามชาติในภาคเกษตรกรรม: กรณีศึกษา แรงงานกัมพูชาในพื้นที่สวนลำไย จังหวัดลำพูน

Main Article Content

ปรียาภรณ์ หมื่นราช
ลิวา ผาดไธสง

Abstract

            แรงงานข้ามชาติได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจในภาคส่วนต่างๆ ของประเทศไทย รวมถึงภาคเกษตรกรรม ลำพูนเป็นจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคเหนือของประเทศไทยซึ่งมีพื้นที่เกษตรกรรมจำนวนมาก โดยเฉพาะการทำสวนลำไยซึ่งจำเป็นต้องพึ่งพาแรงงานข้ามชาติเช่นกัน แต่สิ่งที่น่าสนใจคือแรงงานข้ามชาติที่มีการจดทะเบียนแรงงานเป็นจำนวนมากที่สุดในจังหวัดลำพูนคือแรงงานจากประเทศกัมพูชา การวิจัยครั้งนี้มีจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบจากการย้ายถิ่นเข้ามาทำงานของแรงงาน ข้ามชาติจากประเทศกัมพูชาที่ย้ายถิ่นเข้ามาทำงานในพื้นที่สวนลำไยในจังหวัดลำพูน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก มีการใช้แบบสัมภาษณ์ทั้งแบบมีโครงสร้าง และ กึ่งโครงสร้าง การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่มกับผู้นำชุมชน ได้แก่ นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมการจัดหางานจังหวัด เกษตรจังหวัด เกษตรอำเภอ และเทศบาลตำบล รวมถึงคนในชุมชน และเจ้าของสวนลำไย รวมทั้งหมด 36 ราย พื้นที่ศึกษา ได้แก่ อำเภอแห่งหนึ่งในจังหวัดลำพูนที่มีพื้นที่การปลูกลำไยยืนต้น และพื้นที่เก็บเกี่ยวผลผลิตใกล้เคียงกัน โดยเลือกศึกษาในสองตำบลของอำเภอแห่งนี้ซึ่งมีประชากรที่ทำอาชีพเกษตรกรรมประเภทสวนลำไยเป็นอาชีพหลัก รวมทั้งเป็นพื้นที่ที่มีการผลิตลำไยนอกฤดูในปริมาณสูงที่สุดของจังหวัดลำพูน และมีการจ้างแรงงานกัมพูชาเข้ามาทำงานในสวนลำไยจำนวนมาก

            ผลการวิจัยพบว่า การย้ายถิ่นของแรงงานกัมพูชาที่เข้ามาทำงานและพักอาศัยในสวนลำไย จังหวัดลำพูน ได้ส่งผลกระทบต่อชุมชนในด้านต่างๆ อย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของคน บางกลุ่ม ได้แก่ พ่อค้าลำไย เจ้าของสวนลำไย เจ้าของบ้านเช่าและร้านค้าปลีกต่างๆ แต่คงไม่สามารถมองข้ามปัญหาด้านความมั่นคงที่เกิดขึ้นในชุมชน ทั้งอาชญากรรมและการทะเลาะวิวาท และความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในชุมชน รวมทั้งผลกระทบทางด้านสังคมและสภาพแวดล้อม โดยทุกฝ่ายควรมีการตระหนักถึงปัญหาและจัดการกับปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วนเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นและจะเกิดขึ้นในอนาคต และหนึ่งในปัญหาที่ควรจัดการที่ควรทำอย่างเร่งด่วนที่สุด คือ การจัดการแรงงานกัมพูชาที่เข้ามาทำงานในพื้นที่สวนลำไย จังหวัดลำพูนให้เป็นระบบ              มีระบบการลงทะเบียนที่ถูกต้องตามกฎหมาย และเก็บข้อมูลของแรงงานกัมพูชาทุกคนที่เข้ามาทำงานในพื้นที่ โดยความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ พ่อค้าลำไย และคนในชุมชน เพื่อจะได้รับมือกับการทำงานและการอยู่ร่วมกันของคนในชุมชนและแรงงานข้ามชาติอย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

 

          Migrant workers have played an important role in economic development in several sectors of Thailand, including agricultural sector. Lamphun is one of the Northern provinces that has a large agricultural area, particularly longan orchards which also need migrant workers. However, what interesting is that the highest number of registered migrant workers in Lamphun was migrant workers from Cambodia. This research, therefore, aimed to study the impacts of migrant workers who migrated to work in longan orchard in Lamphun province. This research is a qualitative research by collecting data from in-depth interviews, using structured and semi-structured interview guidelines, non-participant observation, and focused group interviews with 36 community leaders, including district headman, sub-district headmen, village headmen, and village headmen assistants, and related institutions, including Lamphun Provincial Employment Office, Provincial and District Agricultural Extension Offices, and Sub-District Office, and also people in the community, including longan orchard owners. The study area is a district in Lamphun province that has the same amount of areas that grows longan and longan production by choosing 2 sub-districts in this district that the main occupation of the population is agriculture (working in longan orchard), have the highest out-seasoned longan production in the province as well as the high number of Cambodian migrant workers working in longan orchard.

          It was found that the migration of Cambodian migrant workers who came to work and live in longan orchard has clearly affected the community in several ways. Although it showed the positive economic impacts for a certain group of people like longan merchants, longan orchard owners, rental house owners and small shops but the problems on community security cannot be overlooked. These include crime and controversy, and conflicts within the community as well as the impacts on social and environment. Every sectors involved should concern about the problem and solve such problems urgently to reduce the ongoing and the future impacts. One of the problems that urgently needed to do is to systematic manage the Cambodian workers in longan orchards in Lamphun province, has the legal registration system, and collect information of each worker who come to work in the area by the corporation of institutions in the area, longan merchants, and people in the community so that they can cope and live with migrant workers in an appropriate ways which benefit all sectors involved. 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ