ถอดบทเรียนกระบวนการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาชุมชนตลาดโบราณสู่ความสำเร็จ : ตลาดโก้งโค้ง บ้านแสงโสม อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

พงศกร เอี่ยมสอาด
พิทักษ์ ศิริวงศ์

Abstract

           การวิจัยในครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์ถอดบทเรียนกระบวนการบริหารจัดการในการพัฒนาตลาดโก้งโค้ง บ้านแสงโสม อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยาสู่ความสำเร็จ ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหารตลาด แกนนำในการพัฒนาตลาด พ่อค้าแม่ค้าในตลาดและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง(Semi- structured Interview) โดยผู้วิจัยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) และกระบวนการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผลการวิจัยพบว่าบทเรียนความสำเร็จที่สำคัญในการพัฒนาตลาดชุมชนสู่ความสำเร็จและเป็นที่รู้จักคือความสามัคคีและความร่วมมือของชุมชนของชาวตลาด และความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในการร่วมกันพัฒนาตลาดอย่างยั่งยืนโดยมีกลไกหลักในการพัฒนาคือทุนทางสังคม รวมถึงการบริหารจัดการกองทุนร่วมกันของชาวตลาด อีกทั้งยังได้ร่วมกันค้นหาสาเหตุเรียนรู้ปัญหาร่วมกันวิธีการและแนวทางแก้ไข รวมถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับองค์การทางภาครัฐ อีกทั้งยังมีวิธีการสร้างเอกลักษณ์เฉพาะโดยนำรากเหง้าของความเป็นอยุธยาในอดีตมาสร้างจุดเด่นให้กับตลาด อีกทั้งการขับเคลื่อนกระบวนการในชุมชนตลาดโก้งโค้งจะมุ่งเน้นให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการเสนอปัญหา แนวทางการแก้ไขปัญหา เพื่อนำสู่กระบวนการพัฒนาอย่างยั่งยืน

 

          This research study is based on the methodology of Qualitative Research. The purposes of this study were to collecting  lesson learned from management process for development community old market to success : Khongkong Market Amphoe Bang Pa-in District Phra Nakhon Si Ayutthaya Province Key informations of this research received from Marketing Executive, Leader in the market Vendors in the market and stakeholders in the community. Research instruments were Semi- structured Interview dual with field note. Researcher made a deeply interview together with observing, focus group discussion and After Action Review including the study of documentary analysis. The results of this research were found that achievement in the development community marketplace to success is the unity and cooperation of the community market. Solidarity in the common market development, sustainable development was a primary mechanism of social capital and assest management. They also shared a common cause learning problems and how to solve. Including building a network of cooperation with the Government. It also provided a way to create a unique identity by root of Ayutthaya in the past to establish the dominance of the market. The community-driven process in the market stoop to focus everyone involved in offering the problems and solutions to contribute to the process of sustainable development.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ