การผลิตสื่อทางเลือกโดยชาวไทยเชื้อสายปกาเกอะญอ

Main Article Content

มาโนช ชุ่มเมืองปัก

Abstract

           การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตสื่อทางเลือกของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอในบริบทสังคมไทย ในแง่พัฒนาการและวัตถุประสงค์ของการผลิตสื่อดังกล่าว โดยศึกษาจากเอกสารร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ผลิตสื่อปกาเกอะญอ การศึกษานี้ถือเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้เกิดความเข้าใจสภาวการณ์การสื่อสารและภูมิทัศน์สื่อของสังคมไทยที่ปรับเปลี่ยนไปจากอดีต ซึ่งส่วนหนึ่งสัมพันธ์กับการเกิดขึ้นของสื่อทางเลือก หรือสื่อที่ผลิตโดยกลุ่มคนด้อยอำนาจในสังคมอย่างกลุ่มชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อย

           ผลการศึกษาพบว่า การผลิตสื่อปกาเกอะญอเริ่มต้นขึ้นในช่วงทศวรรษ 2530 สอดคล้องกับสภาพการณ์ทางสังคมและการเมืองไทยที่มีความตื่นตัวในเรื่องสิทธิของประชาชนในด้านต่าง ๆ ทั้งนี้ แม้การผลิตสื่อปกาเกอะญอจะมีข้อจำกัดหลายประการ ผู้ผลิตสื่อส่วนใหญ่ยังมุ่งที่จะสร้างสรรค์ผลงานเพื่อเผยแพร่ เนื่องจากมองว่าสิ่งที่ตนเองทำสามารถสร้างประโยชน์แก่ชุมชน โดยวัตถุประสงค์ในการผลิตสื่อของผู้ผลิตสื่อปกาเกอะญอแบ่งออกได้ 3 วัตถุประสงค์หลัก คือ การสื่อสารเพื่อตอบโต้อคติที่สังคมมีต่อกลุ่มชาติพันธุ์ การสื่อสารเรื่องราวและแนวคิดต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้รับสาร และการบันทึกและเผยแพร่วัฒนธรรมเพื่อธำรงรักษาอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ ในแง่นี้ สื่อปกาเกอะญอถือเป็นสื่อทางเลือกซึ่งเป็นเครื่องมือของประชาชนในการถ่วงดุลอำนาจรัฐและสื่อกระแสหลัก นอกจากนั้นยังสามารถเป็นกลไกช่วยส่งเสริมแนวคิดเรื่องความหลากหลายทางวัฒนธรรม และทำให้เกิดความเข้าใจระหว่างผู้คนที่มีความแตกต่างซึ่งอยู่ร่วมในสังคมเดียวกัน

 

            This study examined media production of Sgaw Karen people in the context of Thai society, focusing on the development and objectives of the media production. Data collection included documentary research and in-depth interview. To some degree, this study has contributed to a clearer understanding of communication situations and media landscape in Thailand nowadays, which have been transforming due in part to the emergence of alternative media, especially those produced by subordinate groups like ethnic minorities.

            It was found that the production of Sgaw Karen media in Thailand started in the mid-1980s while the notion of citizens’ rights had been introduced and circulated in Thai society. Since Sgaw Karen media producers considered that the making of their own media could be beneficial to their communities, they devoted themselves to the creative processes despite a number of restrictions. The production of Karen media was underpinned by three main objectives including counteracting bias against ethnic minorities; communicating for the benefits of their audience; and expressing their culture in order to maintain their ethnic identity. This study pointed out the importance of alternative media like Sgaw Karen media for broader Thai society in that alternative media would help reinforce democracy and multiculturalism, which would in turn bring about mutual understanding among people from different cultural backgrounds.  

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ