แนวทางการพัฒนากฎหมายการศึกษาเพื่อการบริหารจัดการศึกษา ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

Main Article Content

วรกาญจน์ สุขสดเขียว
สุวรรณ พิณตานนท์
มาเรียม นิลพันธุ์
อนัน ปั้นอินทร์
เอกชัย ภูมิระรื่น

Abstract

          งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการพัฒนากฎหมายการศึกษาเพื่อการบริหารจัดการการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และข้อเสนอการปรับปรุงกฎหมายการศึกษา  2) กำหนดรูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และ 3) ร่างกฎหมายเพื่อการบริหารจัดการการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ  โดยทำการศึกษา ครอบคลุมพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จำนวน 10 เขต มีเนื้อหาครอบคลุมการศึกษาตลอดชีวิต ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย ทั้งนี้กำหนดประชากร กลุ่มตัวอย่าง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ นักปราชญ์ นักคิด ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการศึกษา กฎหมาย และการกระจายอำนาจ ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จำนวน 10 เขต โดยมีวิธีการวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณ และคุณภาพ (Mixed Method) โดยทำการตรวจสอบความเหมาะสมของแนวทางการพัฒนากฎหมายการศึกษาเพื่อการบริหารจัดการการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และข้อเสนอการปรับปรุงกฎหมายการศึกษา ด้วยการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) และคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา

          ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการศึกษาของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจะต้องสามารถแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของประชาชน และผู้ประกอบการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 2) ความมุ่งหมายของการจัดการศึกษาของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมี 3 ด้าน ได้แก่ ด้านผู้เรียน ด้านสังคม ด้านสาระการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ โดยความมุ่งหมายด้านผู้เรียนมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพคนให้มีความสมบูรณ์อย่างรอบด้าน การจัดการศึกษาของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษต้องยึดศักยภาพของผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพเพื่อสู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพของตนเอง 3) กระทรวงศึกษาธิการมีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริม และกำกับดูแลการศึกษาทุกระดับและทุกประเภทของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ตลอดจนสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา และติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาและราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวง โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารศูนย์การบริหารจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษที่มีลักษณะที่เป็นพหุภาคี

 

             The purposes of  this research  were to: 1) study the development of legal education to management education in special economic development zone. And proposals to improve the legal education 2) Configuration Management Education in special economic development zone, and 3) regulatory body for management education in special economic development zone. The study Covering an area of special economic development zone covering 10 fields of lifelong learning. The education system Non-formal education Informal education The defined population Sample The key data used in this study include thinkers, scholars, experts or experts in the field of legal education and decentralization. As well as those related to education in the area of special economic development zone of 10 districts, with research methodology combines both quantitative and qualitative (Mixed Method) by verifying the appropriateness of the development of legal education to management. education in special economic development zone. And proposals to improve legal education. The quantitative research using questionnaires Comments Policy Committee Special Economic Zone Development (Group MD.) And commission-driven education reform.

                The results were as follows: 1) the management of special economic development zone will be able to solve problems and meet the needs of the people. And enterprises in special economic development zone 2) The aim of the management of special economic development zone with three aspects of learning, social learning, and the learning process. The purpose of the group is focused on developing quality people with integrity in all-round management of special economic development zone to capture the potential of the learners. The education process must encourage learners to develop their full potential for excellence by their own genius 3) The Ministry of Education has the authority to promote. And oversight of all levels and all types of special economic development zone. As well as support, education and resources for monitoring and evaluation of education and other government agencies in accordance with the law to the authority of the Ministry. The Executive Committee of the Center for Management of Special Economic Development Zone in a manner that is multilateral.

 

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ